The Artitude series Part 6: แชร์ข้อมูลสำหรับคนทำงานศิลปะแล้วอยากขอ Sponsors เอกชน

ภาพ6.png

การขอทุนจากหน่วยงานเอกชนต่าง ๆ ทั้งอดีตและปัจจุบัน ยังคงเป็นสิ่งที่คนทำงานศิลปะให้ความสนใจ แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะขอการสนับสนุนนี้ได้ บทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจถึงปัญหา และ หลักคิดสำคัญที่จะขยายขอบเขตให้ทุกคนสามารถสร้างสรรค์งานที่จะเพิ่มโอกาสในการขอทุนเหล่านี้มาได้

1. การทำงานศิลปะส่วนใหญ่มักเป็น Event / Project Base คือทำแล้วจบไป เลยไม่ได้มีเงินสำรองเผื่อทำงานหน้า

2. หลายครั้งที่จะสร้างงานเลยต้องหาทุนใหม่ และการขอสปอนเซอร์จากเอกชนคือหนึ่งในทางออก

3. แต่ปัญหาคือการไปขอส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยได้ หรือได้ก็ได้เป็นขนมเป็นสิ่งของ ถ้าเป็นเงินก็ไม่เยอะ

4. ศิลปินจะคุ้นชินกับการขอเงิน CSR ด้วยเข้าใจว่าเป็นเงินที่เอกชนจะให้เพื่อช่วยเหลือสังคม ทำงานศิลปะก็น่าจะขอได้

5. แต่จริง ๆ แล้ว CSR เป็นแค่ฝ่ายนึงที่ให้เงินศิลปินได้จริง ๆ ยังมีฝ่ายอื่นเช่น Branding / Marketing / Learning & Development / CRM

6. พอเห็นภาพว่าเราสามารถขยายขอบเขตการขอเงินสนับสนุนได้มากกว่าที่คิด แล้วทำยังไงเราถึงขอได้

7. เพราะปัญหาที่ศิลปินเจอบ่อยคือ เวลาไปขายไอเดียให้เจ้าไหนก็จะเจอว่า น่าสนใจนะ ชอบมาก แต่ก็ไม่ให้เงินตอนจบ

8. จนพวกเราอาจคิดว่าสุดท้ายเขาก็ไม่ได้สนใจจริง ๆ หรอก งานศิลปะในบ้านเมืองนี้มันยาก รัฐและเอกชนไม่มีใครอยากสนับสนุนจริง ๆ

9. แต่จริง ๆ คือ ตัวคนพูดนั้นเขาสนจริง ๆ แต่ในส่วนการเอาเงินบริษัทออกมามันมีเงื่อนไข ซึ่งงานน่าสนใจแต่ไม่ตรงเงื่อนไขก็ให้เงินไม่ได้

10. ถ้าเราเข้าใจจุดนี้แล้ว สิ่งสำคัญจริงๆ จึงไม่ใช่แค่เรื่องศิลปะทำงานอะไร แต่มันคือเรื่องเรารู้ไหมว่าเงื่อนไขการให้เงินแต่ละบริษัทแต่ละแผนกคือเงื่อนไขอะไรต่างหาก

11. ถ้าหลักคิดเก่า อาจให้ดูจาก Vission / Mission บริษัทนั้นก่อน เช่น ถ้าธุรกิจเขาอยู่ในอุตสาหกรรมสิ่งแวดล้อม ถ้าเราทำงานศิลปะที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมหรือมีเนื้อหาที่เกี่ยวก็ดูจะคุยกันได้

12. ปัญหาคือพอเราต้องหาบริษัทที่ทำงานเกี่ยวกับเนื้อหาของงานศิลปะเรามันก็ดูจำกัดและดูแคบขึ้นมาทันที

13. ทางออกของเรื่องนี้คือ ศิลปินต้องตั้งคำถามใหม่เป็น บริษัทแต่ละที่ติดปัญหาเรื่องอะไรอยู่ แล้วให้คิดว่า เราจะใช้ความสามารถทางศิลปะของเราแก้ปัญหานั้นให้เขาได้ไหม ?

14. ถ้าเราไปคุยกับแผนก CSR เขาอาจมีปัญหา เช่น อยากแก้ปัญหาสังคมแบบใหม่ ๆ และระยะยาว ศิลปินอาจเสนอ งานที่มี Concept แก้ปัญหาสังคม แบบ Co-Creation กับ ภาคสังคม (SE) เพื่อให้งานมีทั้งความเข้าใจปัญหาจริง ๆ และ มีครีเอทีฟจากศิลปินที่ทำให้โครงการน่าสนใจ

15. ถ้าขอเงินจากฝ่าย Branding เขาอาจมีปัญหา เช่น อยากให้คนวงกว้างรับรู้ว่า Post Covid บริษัทจะมีความเชื่ออะไรที่เปลี่ยนไป ศิลปินอาจสร้างงานที่เน้นให้เกิด Awareness สามารถสร้างจากงาน On ground ปกติแล้วให้คนอยากไปแชร์ใน Online ให้ได้นี่คือโจทย์เป็นต้น

16. ถ้าขอเงินจากฝ่าย Marketing เขาอาจมีปัญหา เช่น ต้องขายของให้ได้มากขึ้น ศิลปินอาจสร้างานที่เน้นให้เกิด Call to action ตอนจบคือดูเสร็จแล้วต้องอยากไปซื้อของต่อ ตัวอย่างเช่น ลูกค้าสามารถขายเบียร์มากขึ้นในงานคอนเสิร์ต โจทย์คือทำไงให้เขาขายของมากขึ้นในงานศิลปะที่เราสร้าง เป็นต้น

17. ถ้าขอเงินจากฝ่าย CRM เขาอาจมีปัญหา เช่น เขาอยากหากิจกรรม Entertainment ใหม่ๆ ให้ลูกค้าเขาได้มีสิทธิพิเศษในการเข้าร่วม ให้นึกถึงพวกบัตรธนาคาร หรือค่ายมือถือ ที่ชอบมีกิจกรรมพิเศษให้ลูกค้า โจทย์คือทำไงให้งานศิลปะของเรานั้นมันน่ามาชม จนเอกชนอยากเอาไปให้ลูกค้าเขาได้มาเป็นต้น

18. ถ้าขอเงินจากฝ่าย L & D เขาอาจมีปัญหา เช่น เขาอยากให้พนักงานในบริษัทเขาได้พัฒนาตัวเองและมีกิจกรรมเรียนรู้ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ โจทย์คือ ศิลปินสามารถขายขอบเขตให้เราสามารถทำ Workshop หรือ ทำให้งานศิลปะเรามีกระบวนการเรียนรู้ชัดเจนเพิ่มขึ้นได้ไหม เป็นต้น

19. จากตัวอย่างทั้งหมดจะเห็นว่าศิลปินสามารถขยายขอบเขตการสร้างงานให้สามารถขอเงินทุกฝ่ายของบริษัทเอกชนในครั้งเดียวเลยก็ได้

20. หรือจริง ๆ สามารถเลือกเฉพาะเจาะจงว่าครั้งนี้ฉันอยากจะทำงานเพื่อลองไปขอเงินฝ่ายใดชัด ๆ เลย

21. แต่จะเห็นว่าใจความสำคัญคือหลักคิดเริ่มต้น "เราต้องเริ่มคิดว่าเราไม่ได้ไปขอเงินเขา แต่เขากำลังมีปัญหาอะไรสักอย่าง แล้วงานศิลปะเราสามารถเป็นทางออกให้กับการแก้ปัญหาของเขาได้"

22. เพราะเขาและเราต่างทำธุรกิจ ธุรกิจคือการแก้ปัญหาเพื่อแลกผลตอบแทนกันและกัน บริษัทแก้ปัญหาให้ศิลปิน ศิลปินก็แก้ปัญหาให้บริษัท ถ้าคิดได้แบบนี้ก็ถือว่าเริ่มต้นถูกทาง

23. แต่นี่เป็นเพียงโครงสร้างพื้นฐานและหลักคิดเริ่มต้น ในรายละเอียดนั้นสำคัญสุดต้องรู้ว่า ไม่ได้มีแค่เราที่กำลังไปขอเงิน หรือ ไปเสนอทางแก้ปัญหาให้กับเขาเจ้าเดียว

24. สุดท้ายงานเจ้าไหนที่ทำให้ผู้ให้เงินรู้สึกคุ้มค่าที่สุดเขาก็จะเลือกเจ้านั้น

25. ฉะนั้นจะมีเรื่องคุณภาพ เรื่องการวัดผล เรื่อง Impact เรื่องจำนวนเงินที่เราขอ อีกมากมายสารพัดที่เป็นปัจจัย X ในการตัดสินใจ ซึ่งหากมีโอกาสผู้เขียนจะขอมาแชร์ในบทความต่อไป

ผมเขียนเรื่องนี้และอยากให้ช่วยกันบอกต่อ หรือเอาไปปรับใช้กัน เพราะหน่วยงานภาครัฐด้านศิลปะไม่ได้ช่วยเหลืออะไรพวกเราเลยในเวลาแย่แบบนี้ โคตรน่าเศร้าเลย ทั้งโครงการด้านบน และบทความนี้คือสิ่งที่ผมพอจะทำได้ ใครมีอะไรก็ฝากกันไว้นะ ดูแลกันไป

#เรามีประเทศที่ศิลปะดีกว่านี้ได้

#TheArtitude

ผู้เขียน

221614694_994686788034015_193951982601497033_n.jpg

กฤษณ์ สงวนปิยะพันธ์ (หลุยส์)

Director of Blind Experience

สนใจเรื่องการสร้างสรรค์สังคมด้วยไอเดียศิลปะ 

เชื่อว่า Arts Society Business Sustainability คือสิ่งที่สามารถอยู่ร่วมกันได้