The Artitude series Part 4: หลักคิดที่เปลี่ยนไปของคนยุคใหม่ที่ภาครัฐกำลังตามไม่ทัน

บทความนี้ผู้เขียนได้วิเคราะห์ถึงการทำงานที่ล้มเหลวของรัฐบาลในด้านการแก้ปัญหาศิลปะในช่วงโควิด

โดยผู้เขียนจะชวนผู้อ่านทุกคนได้ทบทวนและตั้งคำถามถึงศักยภาพของภาครัฐ

โดยครั้งนี้จะเปรียบเทียบกับหลักคิดของคนรุ่นใหม่ที่กำลังจะเปลี่ยนไป แต่ภาครัฐยังทำงานในแบบเก่า

“คนรุ่นพ่อแม่บอก Save our future คนรุ่นผมบอก We don’t have time เด็กรุ่นนี้บอก Everyday is future” นี่คือหลักคิดของยุคสมัยที่เปลี่ยนไปแล้ว ...ถึงพวกเราผู้ใหญ่ทุกคน เราเคยรับรู้ถึงปัญหาต่าง ๆ ทั้งเรื่องการเมืองและโครงสร้างสังคม ที่ตลอดมามันยึดโยงผลประโยชน์กับคนไม่กี่กลุ่ม และเราต้องยอมรับว่าเราไม่อาจต่อสู้และแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างลำพังจริง ๆ 

  1. จากวันที่เราเคยมองเห็นปัญหา...มาวันที่ปัญหาอยู่รอบตัวเรา..จนวันนี้ที่เราอาจต้องกลายเป็นปัญหาเสียเอง 

  2. น่าเสียใจที่เราอยู่ในประเทศที่เกิดมาก็มีทางเลือกให้น้อยเหลือเกิน (โดยเฉพาะการทำงานศิลปะ) อย่าโทษและอย่าเกลียดตัวเองเลย 

  3. เพราะโครงสร้างและระบบของสังคมที่เอื้อให้อยู่กับคนไม่กี่กลุ่ม ที่มีอำนาจ มีกฏหมาย มีเงินทอง มีลูกหลานครอบครัวที่พร้อมจะส่งต่อและสืบทอดอย่างไม่จบไม่สิ้น..

  4. ความยั่งยืนสำหรับบางคนอาจมองว่า "ทำไงให้มีเหลือเฟือพอจะส่งต่อให้ลูกหลานฉัน" แต่ถ้าคุณไปถามเด็กรุ่นใหม่ เขาจะบอกว่า “ความยั่งยืน คือ การรู้ว่าทุกสิ่งที่เราทำนั้นจะเป็นส่วนหนึ่งกับทุกอย่างบนโลกยังไง”

  5. คำถามที่น่าสนใจคือปัญหาใหญ่ ๆ เช่น เรื่องความเหลื่อมล้ำ การคอร์รัปชัน การศึกษา สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข ศิลปะวัฒนธรรม ฯลฯ เรารู้ดีว่าพวกเราทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างปัญหาต่าง ๆ

  6. แต่ตอนนี้มีบางกลุ่มคนพยายามถือครองการแก้ปัญหาต่าง ๆ ไว้ด้วยผลประโยชน์มหาศาล "การอยู่ในจุดที่แก้ปัญหาให้ผู้อื่น มันทำให้ชีวิตพวกเขาสุขสบาย"

  7. ผมแยกรัฐบาลที่ดีและไม่ดีตรงที่ รัฐบาลที่ดีจะมีความสามารถในการบริหารภาษีเพื่อกระจายคืนไปให้กับประชาชนทุกคนได้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและช่วยกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่าง ๆ ของประเทศด้วยกัน" 

  8. ที่แย่คือ "รัฐบาลที่กำลังบริหารภาษีเพื่อเอาไปให้กลุ่มพวกพ้อง กลุ่มนายทุน และคนบางกลุ่มเพื่อสืบทอดและเป็นเจ้าของการแก้ปัญหาส่วนใหญ่ในประเทศ.."

  9. เราอยากมีรัฐบาลที่มองเห็นคนทุกคนและศิลปินเท่ากัน นั่นคือประชาชนและศิลปินได้แสดงศักยภาพของตัวเองอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเขาจะตัวเล็กตัวใหญ่ มีโครงสร้างที่ไม่เอาเปรียบกัน ไม่ใช่สู้เท่าไรก็ยิ่งหมดแรงแบบนี้ 

  10. เราไม่สนับสนุนการแก้ปัญหาระยะสั้นต่าง ๆ ที่ประชาชนต้องทำกันเอง แต่สถานการณ์นี้ชีวิตบางคนกำลังจะตาย เขาไม่สามารถอยู่ถึงแผนระยะยาวของชีวิตเขาได้แล้ว

  11. ฉะนั้นช่างรัฐบาลแม่งไปก่อน อะไรช่วยกันเองได้ช่วยเลย แต่ช่วยเสร็จแล้ว อย่าลืมกลับมามองที่ปัญหาที่แท้จริง คือ ปัญหาโครงสร้างและความสามารถของผู้บริหารประเทศนี้ด้วย

  12. ความทุกข์และความรู้สึกต่าง ๆ ในวันนี้ อย่าลืมมัน พวกเราทุกคนมาไกลกันมากแล้ว หลายอย่างที่ไม่เคยคิดว่าจะได้เห็นเราก็ได้เห็นกันหมด ทุกอย่างจะไม่มีวันกลับไปเป็นเหมือนเดิม

#เรามีประเทศที่ดีกว่านี้ได้ 

#TheArtitude

 

ผู้เขียน

กฤษณ์ สงวนปิยะพันธ์ (หลุยส์)

Director of Blind Experience

สนใจเรื่องการสร้างสรรค์สังคมด้วยไอเดียศิลปะ 

เชื่อว่า Arts Society Business Sustainability คือสิ่งที่สามารถอยู่ร่วมกันได้