ลงชื่อคัดค้านร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.ศ. ....

 
 
 

ตามที่คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) ได้ยกร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.ศ. …. และส่งให้สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณามอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นผู้รักษาการและดำเนินการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมายต่อไปนั้น

ไทยเธียเตอร์ฟาวน์เดชั่นกังวลต่อร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.ศ. …. ฉบับใหม่นี้เป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุจะรั้งให้ภาคประชาสังคมถดถอยมากกว่าจะส่งเสริมให้รุดหน้า

ในแง่ข้อกฎหมาย เครือข่ายคัดค้านร่างกฎหมายควบคุมภาคประชาชนจำนวน 1,867 องค์กร ได้ร่วมกันออกแถลงการณ์คัดค้านร่างพระราชบัญญัตินี้ก่อนหน้าแล้ว ท่านสามารถอ่านข้อกังวลในแง่กฎหมายในแถลงการณ์นี้ได้

ในมิติศิลปะ แม้ร่างพระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้ได้นำความคิดเห็นของประชาชนมาร่วมปรับปรุงแล้ว อาทิ นิยามองค์กรไม่แสวงหากำไรให้แคบลง และยกเลิกข้อกำหนดให้ต้องสอบบัญชีภายใน 60 วัน กระนั้น ร่างพระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้ก็ยังคงมีโทษมากกว่าคุณ

ประการแรก ข้อห้ามลักษณะการดำเนินงานที่คลุมเครืออาจนำไปสู่การเลือกปฏิบัติและปิดกั้นเสรีภาพทางศิลปะ

มาตรา 20 ของร่างพระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้ห้ามมิให้องค์กรไม่แสวงหากำไรดำเนินงานที่ “กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ รวมถึงความมั่นคงของรัฐด้านเศรษฐกิจ หรือด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” และงานที่ “กระทบต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม” หากไม่ปฏิบัติตามอาจถูกยุติการดำเนินงานและได้รับโทษได้

ข้อกำหนดเหล่านี้คลุมเครือ เป็นการเปิดช่องว่างให้ผู้มีอำนาจใช้ดุลยพินิจปิดกั้นช่องทางระดมทุนสำหรับสร้างสรรค์งานในประเด็นที่ตนไม่เห็นด้วยหรือไม่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอ เมื่อไม่มีทุนมากพอ ประเด็นที่ถูกปิดกั้นก็จะไม่อาจงอกเงยเกิดเป็นบทสนทนาในสังคมได้เฟื่องฟูเท่าประเด็นที่ผู้มีอำนาจสนับสนุน เป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพขององค์กรด้านละครเวทีที่ถูกเลือกปฏิบัติ ปิดกั้นเสรีภาพทางศิลปะ และลงโทษศิลปินผู้มีความเห็นแตกต่างจากผู้มีอำนาจ

ประการที่สอง ข้อกำหนดให้แจ้งชื่อแหล่งเงินทุนต่างประเทศโดยมีเงื่อนไขอาจปิดกั้นการระดมทุน ส่งผลให้การระดมทุนและการดำเนินงานยากลำบากขึ้น

มาตรา 21 ระบุให้องค์กรที่ได้รับเงินทุนต่างประเทศต้องแจ้งชื่อแหล่งเงินทุน จำนวนเงิน และวัตถุประสงค์ หากดูผิวเผินก็อาจจะเป็นข้อกำหนดเพื่อป้องกันการฟอกเงินที่สมเหตุสมผล กระนั้น ในตอนท้ายของมาตรา 21 ระบุว่าให้นำความในวรรคสองของมาตรา 20 มาใช้บังคับโดยอนุโลม นั่นหมายรวมถึงว่า แหล่งเงินทุนต่างประเทศใดที่ผู้มีอำนาจมองว่าจะกระทบต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคมก็อาจถูกปิดกั้น

อีกทั้งการกำหนดให้ต้องเปิดเผยแหล่งที่มาและจำนวนของเงินหรือทรัพย์สินเป็นการละเมิดเงื่อนไขของผู้บริจาคที่ไม่ประสงค์ออกนาม การไม่ประสงค์ออกนามมิได้บ่งชี้เจตนาฟอกเงินเสมอไป หลายต่อหลายครั้งผู้บริจาครายใหญ่ไม่ประสงค์ออกนามด้วยเหตุผลต่างกัน เช่น ไม่ประสงค์ให้องค์กรอื่นทราบและมาขอรับบริจาคด้วย อันจะรบกวนความเป็นส่วนตัว เงื่อนไขนี้อาจทำให้ผู้บริจาคพิจารณาบริจาคในจำนวนที่น้อยลงหรือไม่บริจาคเลย

ข้อกำหนดนี้อาจตัดช่องทางระดมทุนที่จำกัดอยู่แล้วขององค์กรด้านละครเวทีให้ลดลงไปอีก ส่งผลให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างยากลำบากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคณะละครเวทีขนาดเล็กและกลางของไทยที่รายได้จากการระดมทุนกว่า 91% มาจากองค์กรต่างประเทศ (รักษ์ศักดิ์ ก้งเส้ง, 2559)

ประการที่สาม บทกำหนดโทษสูงไม่ได้สัดส่วน สร้างความเสี่ยงเกินจำเป็น อาจส่งผลให้อุตสาหกรรมชะงักงัน

มาตรา 25 และ 26 กำหนดโทษปรับห้าหมื่นบาทและห้าแสนบาท พร้อมกับปรับอีกวันละหนึ่งพันและหนึ่งหมื่นบาทตามลำดับ โทษปรับนี้สูงเกินสัดส่วนมากเมื่อเทียบกับขนาดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศขององค์กรไม่แสวงหากำไรที่คิดเป็นเพียง 0.8% ของประเทศเท่านั้น (สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2553) นักการละครและองค์กรไม่แสวงหากำไรเกือบทุกแห่งในอุตสาหกรรมละครเวทีร่วมสมัยไทยไม่มีรายได้มากพอแบกรับภาระความเสี่ยงเหล่านี้ได้

อีกทั้งมาตรา 27 ยังระบุ “ให้ผู้รับผิดชอบดำเนินงานขององค์กรไม่แสวงหากำไรแห่งนั้นต้องรับโทษเช่นเดียวกับองค์กรไม่แสวงหากำไรด้วย” ข้อกำหนดนี้จะสร้างความหวาดวิตกให้นักการละครอิสระที่ไม่ได้ทำงานร่วมกับนักจัดการละครเวที อาจส่งผลให้อุตสาหกรรมชะงักงันได้ ผลกระทบแรกที่อาจเกิดขึ้นคือ จำนวนคณะละครเวทีขนาดเล็กและกลาง รวมถึงจำนวนชิ้นงานสร้างสรรค์ตลอดปีจะลดลง ผลกระทบที่ตามมาคือการผลิตสื่อศิลปะอันมีอัตราการขยายตัว (YoY) ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสูงสุดในทุกสาขาการผลิตติดต่อกันทุกปีนับแต่ปี 2559 จนกระทั่งเกิดวิกฤตโควิด-19 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2564) จะถดถอย สร้างความสูญเสียต่อเศรษฐกิจชาติโดยไม่จำเป็น

ประการที่สี่ ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่สอดคล้องกับกรอบแนวคิด “ล้มแล้วลุกไว” (Resilience) ของแผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอันเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด 19

แผนแม่บทฯ ดังกล่าวมีเป้าประสงค์ให้พร้อมรับ (Cope) ปรับตัว (Adapt) และเปลี่ยนแปลงเพื่อพร้อมเติบโตอย่างยั่งยืน (Transform) ข้อกำหนดที่กล่าวมาข้างต้นล้วนแต่ขัดต่อแนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากภายในประเทศ (Local Economy) นอกจากจะไม่ช่วยยกระดับขีดความสามารถของประเทศเพื่อรองรับการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว (Future Growth) แล้ว ยังไม่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของคนให้เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ (Human Capital) รวมถึงสวนทางต่อการปรับปรุงและพัฒนาปัจจัยพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูและพัฒนาประเทศ (Enabling Factors) อีกด้วย กล่าวได้ว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นการซ้ำเติมอุตสาหกรรมละครเวทีไทยที่ประสบภาวะวิกฤตโควิด-19 อย่างรุนแรงอยู่แล้วให้กลับมายืนได้ด้วยตนเองยากขึ้นไปอีก

เหตุนี้ ไทยเธียเตอร์ฟาวน์เดชั่นจึงขอคัดค้านร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.ศ. …. ฉบับนี้

 

ร่วมลงชื่อคัดค้าน

 

รายชื่อผู้เข้าร่วมคัดค้าน

แถลงการณ์คัดค้านการละเมิดเสรีภาพทางศิลปะ ครั้งที่ 4

ภาพจากเพจ artn't

 

สืบเนื่องจากคุณศิวัญชลี วิธญเสรีวัฒน์ สมาชิกกลุ่ม “artn't” ได้อ่านบทกวีประกอบการแสดง Performance Art ในการชุมนุมที่สี่แยกราชประสงค์เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2564 และได้รับแจ้งข้อหาจาก สน.ลุมพินี 3 ข้อหา ได้แก่

  1. ร่วมกันจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดออกความตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 37)

  2. ร่วมกันชุมนุม หรือทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคในพื้นที่กรุงเทพมหานครโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการฝ่าฝืนประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกี่ยวกับความมั่นคงฯ (ฉบับที่ 14) 

  3. ร่วมกันกีดขวางทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต จนอาจเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจร

ประกอบกับได้ทำการแสดง Performance Art ใน “คาร์ม็อบนราธิวาส” เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2564 และได้ถูกแจ้งข้อกล่าวหาไว้ ทั้งหมด 5 ข้อกล่าวหา ได้แก่

  1. ร่วมกันยุยงให้เกิดความไม่สงบ

  2. ร่วมกันจัดกิจกรรมที่สุ่มเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดโควิด

  3. ฝ่าฝืนคำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส

  4. ส่งเสียงดังทำให้ประชาชนตกใจ

  5. ใช้เครื่องเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต

เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรจเมืองนราธิวาสได้เรียกให้คุณศิวัญชลีเข้าพบเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2565 หลังทางเจ้าหน้าที่ตำรวจลงความเห็นว่าจะส่งสำนวนคดีนี้ให้อัยการยื่นฟ้องในข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จากคดีดังกล่าวน้ัน

ไทยเธียเตอร์ฟาวน์เดชั่นไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับการตั้งข้อหาดังกล่าว

สังคมเสรีคือสังคมที่ประชาชนทุกคนล้วนมีสิทธิใช้วิจารณญาณของตนประเมินค่าว่างานศิลปะชิ้นใดเหมาะควรแก่การสร้างสรรค์หรือสนับสนุน อีกทั้งต้องไม่ปิดกั้นหรือคุกคามงานศิลปะโดยอ้างเหตุว่างานศิลปะอันเป็นการแสดงแนวคิดที่แตกต่างของศิลปินนั้นเป็นการเผนแพร่โรคระบาด ยุยงให้เกิดความไม่สงบ หรือก่อให้เกิดความเสียหายตามที่ถูกกล่าวหา

ไทยเธียเตอร์ฟาวน์เดชั่นเห็นว่าการแสดงงานศิลปะไม่ว่าจะในครั้งใดไม่สมควรถูกคุกคามด้วยการดำเนินคดีเป็นอย่างยิ่ง จึงออกแถลงการณ์นี้เพื่อยืนหยัดเคียงข้างเสรีภาพทางศิลปะอีกครั้งหนึ่ง

ไทยเธียเตอร์ฟาวน์เดชั่นมีพันธกิจเพื่อ “สนับสนุนและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ละครเวทีไทยร่วมสมัย” ภายใต้ค่านิยมหลัก “เสมอภาค หลากหลาย ไม่แบ่งแยก” ไทยเธียเตอร์ฟาวน์เดชั่นยึดมั่นในการดำเนินนโยบายไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ปัจจุบันไทยเธียเตอร์ฟาวน์เดชั่นมีพันธมิตรทั้งสิ้น 112 แห่งทั้งในและต่างประเทศ

ลงชื่อขอรับวัคซีน

ลงชื่อขอรับวัคซีน

ไทยเธียเตอร์ฟาวน์เดชั่นประสานงานกับสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กระทรวง วัฒนธรรมเพื่อขอรับวัคซีนกลุ่มให้แก่นักการละครเวทีร่วมสมัยทั่วประเทศไทย (Sinovac หรือ AstraZeneca)

TTF ปิดลงชื่อขอรับวัคซีนแล้ว

สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กระทรวงวัฒนธรรมนำส่งรายชื่อทั้งหมดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไปเรียบร้อยแล้ว

ข้อจำกัดความรับผิด

  • ท่านรับทราบว่าการลงชื่อขอรับวัคซีนผ่านไทยเธียเตอร์ฟาวน์เดชั่นไม่ได้เป็นการยืนยันว่าท่านจะได้รับวัคซีน การจัดสรรวัคซีนเป็นดุลยพินิจของหน่วยงานราชการ อยู่นอกเหนือความควบคุมของไทยเธียเตอร์ฟาวน์เดชั่น ท่านรับทราบว่าการลงชื่อครั้งนี้เป็นเพียงอีกหนึ่งช่องทางที่อาจช่วยให้ท่านเข้าถึงวัคซีนได้

  • หากท่านไม่ได้อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ท่านรับทราบว่าท่านอาจต้องเดินทางมารับวัคซีนในกรุงเทพมหานคร

  • การรณรงค์ของไทยเธียเตอร์ฟาวน์เดชั่นเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของท่านโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ท่านยอมรับว่าไทยเธียเตอร์ฟาวน์เดชั่นไม่มีส่วนต้องรับผิดใดๆ ต่อท่านหรือบุคคลใดๆ ในความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมจากเหตุใดๆ

แถลงการณ์คัดค้านการละเมิดเสรีภาพทางศิลปะ ครั้งที่ 3

ภาพโดย เว็บไซต์ประชาไท

ภาพโดย เว็บไซต์ประชาไท

 

สืบเนื่องจากนายวิธญา คลังนิล สมาชิกกลุ่ม “ลานยิ้มการละคร” ได้จัดการแสดง Performance Art บริเวณป้ายหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2564 และได้รับหมายจับจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติในข้อหาดูหมิ่นพระมหากษัตริย์นั้น

ไทยเธียเตอร์ฟาวน์เดชั่นไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับการตั้งข้อหาดังกล่าว

สังคมเสรีคือสังคมที่ประชาชนทุกคนล้วนมีสิทธิใช้วิจารณญาณของตนประเมินค่าว่างานศิลปะชิ้นใดเหมาะควรแก่การสร้างสรรค์หรือสนับสนุน อีกทั้งต้องไม่ปิดกั้นหรือคุกคามงานศิลปะโดยอ้างเหตุว่างานศิลปะอันเป็นการแสดงแนวคิดที่แตกต่างของศิลปินนั้นเป็นการดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ เพราะหัวใจของประชาธิปไตยคือการปะทะสังสรรค์ทางความคิด มิใช่ความเงียบสงัด

ไทยเธียเตอร์ฟาวน์เดชั่นเห็นว่าการแสดงงานศิลปะไม่ว่าจะในครั้งใดไม่สมควรถูกคุกคามด้วยการดำเนินคดีเป็นอย่างยิ่ง จึงออกแถลงการณ์นี้เพื่อยืนหยัดเคียงข้างเสรีภาพทางศิลปะอีกครั้งหนึ่ง

ไทยเธียเตอร์ฟาวน์เดชั่นมีพันธกิจเพื่อ “สนับสนุนและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ละครเวทีไทยร่วมสมัย” ภายใต้ค่านิยมหลัก “เสมอภาค หลากหลาย ไม่แบ่งแยก” ไทยเธียเตอร์ฟาวน์เดชั่นยึดมั่นในการดำเนินนโยบายไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ปัจจุบันไทยเธียเตอร์ฟาวน์เดชั่นมีพันธมิตรทั้งสิ้น 108 แห่งทั้งในและต่างประเทศ

ลงชื่อคัดค้านร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน พ.ศ. …

 
Blue and Green Real Estate Yard Sign.gif
 
 

ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 อนุมัติหลักการของ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน พ.ศ. … ปัจจุบันอยู่ระหว่างเปิดรับฟังความคิดเห็นโดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกานั้น

ไทยเธียเตอร์ฟาวน์เดชั่นรู้สึกกังวลต่อร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน พ.ศ. … ฉบับนี้เป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุจะรั้งให้ภาคประชาสังคมถดถอยมากกว่าจะส่งเสริมให้รุดหน้า

ในแง่ข้อกฎหมาย องค์กรภาคประชาสังคมหลายแห่งได้ออกแถลงการณ์ก่อนหน้าแล้ว ท่านสามารถอ่านข้อกังวลในแง่กฎหมายขององค์กรต่างๆ ได้ดังนี้

  1. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW)

  2. องค์กรโพรเทคชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล

  3. สถาบันระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายเพื่อกิจการไม่แสวงหากําไร (International Center for Not-for-Profit Law หรือ ICNL)

ในมิติศิลปะ แม้ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีหลักการที่จะส่งผลดีบางประการต่ออุตสาหกรรมศิลปะละครเวทีร่วมสมัย อาทิ คณะละครจะสามารถจดทะเบียนเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน (Nonprofit Organization) ในรูปแบบที่มิใช่มูลนิธิหรือสมาคมได้ อันเป็นรูปแบบที่ไม่เคยปรากฏมีในประเทศไทยมาก่อน อีกทั้งอาจมีสิทธิได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการจากรัฐเมื่อจดแจ้งแล้ว กระนั้นร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้กลับมีโทษมากกว่าคุณ 

ประการแรก ข้อกำหนดหลายประการของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้สร้างเงื่อนไขให้ผู้บริจาค ส่งผลให้การระดมทุนยากลำบากขึ้น

ตัวอย่างเช่น การกำหนดให้ต้องเปิดเผยแหล่งที่มาและจำนวนของเงินหรือทรัพย์สินเป็นการละเมิดเงื่อนไขของผู้บริจาคที่ไม่ประสงค์ออกนาม การไม่ประสงค์ออกนามมิได้บ่งชี้เจตนาฟอกเงินเสมอไป หลายต่อหลายครั้งผู้บริจาครายใหญ่ไม่ประสงค์ออกนามด้วยเหตุผลต่างกัน เช่น ไม่ประสงค์ให้องค์กรอื่นทราบและมาขอรับบริจาคด้วย อันจะรบกวนความเป็นส่วนตัว เงื่อนไขนี้อาจทำให้ผู้บริจาคพิจารณาบริจาคในจำนวนที่น้อยลงหรือไม่บริจาคเลย ส่งผลเสียโดยตรงต่อคณะละครเวที นอกจากนี้ยังกำหนดให้รับทรัพย์สินจากนอกราชอาณาจักรไทยได้เฉพาะกิจกรรมที่รัฐมนตรีกำหนดเท่านั้น แต่ไม่ระบุชัดเจนว่าข้อกำหนดดังกล่าวคืออะไร ข้อกำหนดนี้อาจจำกัดช่องทางระดมทุนโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคณะละครเวทีขนาดเล็กและกลางของไทยที่รายได้จากการระดมทุนกว่า 91% มาจากองค์กรต่างประเทศ (รักษ์ศักดิ์ ก้งเส้ง, 2559)

ประการที่สอง ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้อาจนำไปสู่การเลือกปฏิบัติและปิดกั้นเสรีภาพทางศิลปะ

ข้อกำหนดให้รับทรัพย์สินจากนอกราชอาณาจักรไทยได้เฉพาะกิจกรรมที่รัฐมนตรีกำหนดนั้นมิได้ระบุชัดเจนว่ามีเงื่อนไขอะไรบ้าง เป็นการเปิดช่องว่างให้ผู้มีอำนาจใช้ดุลยพินิจปิดกั้นช่องทางระดมทุนสำหรับสร้างสรรค์งานในประเด็นที่ตนไม่เห็นด้วยหรือไม่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอ เมื่อไม่มีทุนมากพอ ประเด็นที่ถูกปิดกั้นก็จะไม่อาจงอกเงยเกิดเป็นบทสนทนาในสังคมได้เฟื่องฟูเท่าประเด็นที่ผู้มีอำนาจสนับสนุน เป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของคณะละครเวทีที่ถูกเลือกปฏิบัติ

ประการที่สาม คณะละครเวทีจะต้องแบกรับภาระและความเสี่ยงอันเกินจำเป็น ส่งผลให้อุตสาหกรรมชะงักงัน

ปัจจุบันคณะละครเวทีมีตัวเลือกจดแจ้งเป็นเพียงหน่วยภาษี เช่น คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และไม่มีข้อบังคับให้ต้องสอบบัญชี เพียงแต่ต้องจัดทำรายงานบัญชีรับ - จ่ายนำส่งกรมสรรพากร ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จะบังคับให้คณะละครขนาดเล็กและกลางต้องสอบบัญชีภายใน 60 วันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ข้อกำหนดนี้นอกจากจะมีโทษสูงไม่ได้สัดส่วนและเพิ่มภาระงานในการบันทึกรายการตามมาตรฐานการบัญชีแล้ว ยังจะเพิ่มค่าใช้จ่ายในการสอบบัญชีที่สูงจนทำให้คณะละครขนาดเล็กและกลางหลายแห่งขาดทุนทันทีอีกด้วย

เนื่องด้วยวงการละครเวทีไทยมีภาวะขาดแคลนนักบริหารจัดการละครอย่างรุนแรงอยู่แล้ว ศิลปินจะไม่สามารถแบกรับภาระที่เพิ่มขึ้นนี้โดยลำพังได้ ผลกระทบแรกคือจำนวนคณะละครเวทีขนาดเล็กและกลาง รวมถึงจำนวนชิ้นงานสร้างสรรค์ตลอดปีจะลดลง ผลกระทบที่ตามมาคือการผลิตสื่อศิลปะอันมีอัตราการขยายตัว (YoY) ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) สูงสุดในทุกสาขาการผลิตติดต่อกันทุกปีนับแต่ปี 2559 จนกระทั่งเกิดวิกฤตโควิด-19 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2564) จะถดถอย สร้างความสูญเสียต่อเศรษฐกิจชาติโดยไม่จำเป็น

ประการที่สี่ ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่สอดคล้องกับกรอบแนวคิด “ล้มแล้วลุกไว” (Resilience) ของแผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอันเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด 19

แผนแม่บทฯ ดังกล่าวมีเป้าประสงค์ให้พร้อมรับ (Cope) ปรับตัว (Adapt) และเปลี่ยนแปลงเพื่อพร้อมเติบโตอย่างยั่งยืน (Transform) ข้อกำหนดที่กล่าวมาข้างต้นล้วนแต่ขัดต่อแนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากภายในประเทศ (Local Economy) นอกจากจะไม่ช่วยยกระดับขีดความสามารถของประเทศเพื่อรองรับการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว (Future Growth) แล้ว ยังไม่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของคนให้เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ (Human Capital) รวมถึงสวนทางต่อการปรับปรุงและพัฒนาปัจจัยพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูและพัฒนาประเทศ (Enabling Factors) อีกด้วย กล่าวได้ว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นการซ้ำเติมอุตสาหกรรมละครเวทีไทยที่ประสบภาวะวิกฤตโควิด-19 อย่างรุนแรงอยู่แล้วให้กลับมายืนได้ด้วยตนเองยากขึ้นไปอีก

เหตุนี้ ไทยเธียเตอร์ฟาวน์เดชั่นจึงขอคัดค้านร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน พ.ศ. … ฉบับนี้

 

ร่วมลงชื่อคัดค้าน

 

รายนามบุคคลทั่วไปและองค์กรที่สนับสนุนแถลงการณ์นี้

TTF จะปิดรับรายชื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2564 และจะนำส่งรายนามผู้สนับสนุนแถลงการณ์ด้านล่างนี้ไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในลำดับต่อไป

บุคคลทั่วไป

  1. รักษ์ศักดิ์ ก้งเส้ง

  2. เพียงดาว จริยะพันธ์ุ

  3. ลัดดา คงเดช

  4. พิมพ์ภัทร ชูตระกูล

  5. ทิพย์ตะวัน อุชัย

  6. ธันยธร บุตรยี่

  7. ญาณี เหล่าวิริยะรัตน์

  8. เผ่าภูมิ ชิวารักษว์

  9. จารุนันท์ พันธชาติ

  10. สรวิศ ชินแสงทิพย์

  11. วรัฏฐา ทองอยู่

  12. ศศพินทุ์ ศิริวาณิชย์

  13. ภคมน เหมะจันทร์

  14. พุทธิพร สุทธิมานัฎ

  15. ธีระวัฒน์ มุลวิไล

  16. จุฑาพิชญ์ อุสาหะ

  17. เขมฌัษ เสริมสุขเจริญชัย

  18. อรรนพ​ กิจเกษร

  19. ภาสกร อินทุมาร

  20. สิริกาญจน์ บรรจงทัด

  21. นัสรี ละบายดีมัญ

  22. สุทธามน วรพงษ์

  23. สุพงศ์ จิตต์เมือง

  24. ชัยณรงค์ สาทแก้ว

  25. เจนวิชญ์ นฤขัตพิชัย

  26. นวลปณต ณัฐ เขียนภักดี

  27. กรินทร์ ใบไพศาล

  28. สุรศักดิ์ นามวัฒน์โสภณ

  29. อาริยา เทพรังสิมันต์กุล

  30. ประภามณฑล เอี่ยมจันทร์

  31. ปวิตร มหาสารินันทน์

  32. สินีนาฏ เกษประไพ

  33. ณัฐพัชร อาษากิจ

  34. อาตัน อาแว

  35. ปรัชญา สืบประสิทธิ์วงศ์

  36. สรินยา ออลสัน

  37. Janjira Sawangyen

  38. ธนดล กรโกสียกาจ

  39. วริศรา บ่อเกิด

  40. ภูมิภัทร ถาวรศิริ

  41. รัชชัย รุจิวิพัฒน์

  42. วสุรัชต อุณาพรหม

  43. ณัฐ​พล​ คุ้ม​เมธา​

  44. กิตติพร โรจน์วณิช

  45. พีรพล กิจรื่นภิรมย์สุข

  46. พรจิตตรา วงค์​ศรีสวัสดิ์​

  47. อังกฤษ อัจฉริยโสภณ

  48. วีระยุทธ บำรุงธนทรัพย์

  49. พีระพงศ์ รุณจำรัส

  50. ธนุพล ยินดี

  51. ญาดา เกรียงไกรวุฒิกุล

  52. ฤทธิชัย โฉมอัมฤทธิ์

  53. ธนาวัฒน์ รายะนาคร

  54. พฤหัส พหลกุลบุตร

  55. ภัทรภร เกิดจังหวัด

  56. ลัทธพล จิรปฐมสกุล

  57. วัชรพงศ์ สว่างภพ

  58. ชญานิศ อัศวธีรากุล

  59. วีรภัทร พัฒลากุล

  60. กวิน พิชิตกุล

  61. ศรัณญ์ เจนชัย

  62. นีลชา เฟื่องฟูเกียรติ

  63. พดุงศักดิ์ คชสำโรง

  64. มนุพร เหลืองอร่าม

  65. วิชย อาทมาท

  66. คัทลียา เผ่าศรีเจริญ

  67. ตรัสวิน จิตติเดชารักษ์

  68. นฤมล ธรรมพฤกษา

  69. สุพิชชา ศรีหงส์

  70. ปกรณ์ ธรรมพฤกษา

  71. สุวภัทร พันธ์ปภพ

  72. อรุณโรจน์ ถมมา

  73. อธิพงษ์ อมรวงศ์ปีติ

  74. ผศ.ดร.ปริดา มโนมัยพิบูลย์

  75. เบญจ์​ บุษราคัมวงศ์

  76. นันทิยา เดชอมรธัญ

  77. ณัฐธิตา วงศ์พรหม

  78. อาภาวี เศตะพราหมณ์

  79. อัจจิมา ณ พัทลุง

  80. ธนา ปุญเกษม

  81. เพ็ญวดี นพเกตุ มานนท์

  82. อนาวิล เจียมประเสริฐ

  83. ปณชัย ฉายาวิจิตรศิลป์

  84. ธัญธร คุณาภิญญา

  85. อัจฉรา สุริยะ

  86. พัชรกมล จันทร์ตรี

  87. สิตาภา สกุลดีเลิศ

  88. ปัณฑารีย์ สุวรรณิน

  89. กชวรรณ ฉายะวรรณ

  90. ปวลักขิ์ สุรัสวดี

  91. โชติกานต์ บุลชัยยุวัฒน์

  92. วีรภัทร บุญมา

  93. กัณหรัตน์ เลี่ยมทอง

  94. พรเทพ เพชรสัมฤทธิ์

  95. นรันดร์ โพธิ์ถาวร

  96. ประภัสสร สุภาพ

  97. อาคีระ กิจธนโสภา

  98. ประดิษฐ ประสาททอง

  99. ไอรินทร์ ศิระวิเชษฐ์กุล

  100. ณัฐพร เทพรัตน์

  101. ปฐมาภรณ์ วิริโยทัย

  102. สิรี ริ้วไพบูลย์

  103. เวลา อมตธรรมชาติ

  104. วสวัตติ์ ดุลยวิทย์

  105. ศุรัณยา ปุญญพิทักษ์

  106. ดมิสา ลักขณาพินิจ

  107. สัณห์ชัย โชติรสเศรณี

  108. น้ำตาล สุทธวาทิน

องค์กรด้านละครเวทีและศิลปะร่วมสมัยอื่นๆ

  1. พระจันทร์เสี้ยวการละคร

  2. บีฟลอร์เธียเตอร์

  3. Throw BKK

  4. Democrazy theatre studio

  5. Producers of Thai Performing Arts Network

  6. Babymime​

  7. กลุ่มละครมะขามป้อม

  8. Dee-ng Theatre

  9. For What Theatre

  10. เครือข่ายละครกรุงเทพ Bangkok Theatre Network

  11. คณะละครอนัตตา

  12. เครือข่ายจัดตั้งมูลนิธิประยูรเพื่อศิลปะ

  13. Showhopper Co., Ltd.

ผลักดันการช่วยเหลือศิลปินจากวิกฤติโควิด-19 กับสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม

203729030_4276696412457661_581962197737215615_n.jpg

เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2564 คุณเพียงดาว จริยะพันธุ์และคุณทิพย์ตะวัน อุชัย ผู้แทนไทยเธียเตอร์ฟาวน์เดชั่นเข้าพบดร.วิมลลักษณ์ ชูชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม โดยมีศาสตราจารย์พรรัตน์ ดำรุง ช่วยเชื่อมต่อการเข้าพบครั้งนี้ ไทยเธียเตอร์ฟาวน์เดชั่นขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่กินเวลายาวนานกว่า 1 ปีที่ผ่านมาและทวีความรุนแรงในช่วงเดือนเมษายนเป็นต้นมา ส่งผลให้วงการละครเวทีทั้งโรงละครเชิงพาณิชย์และละครโรงเล็กไม่สามารถจัดกิจกรรมได้ เจ้าของพื้นที่และนักการละครต่างสูญเสียรายได้มายาวนาน 

ในการนี้ ไทยเธียเตอร์ฟาวน์เดชั่นจึงได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากวงการละครเวที ร่วมกันประเมินสถานการณ์ จากนั้นนำข้อคิดเห็นเข้ารณรงค์กับภาครัฐให้เยียวยาและสนับสนุนศิลปินและคนทำงานสร้างสรรค์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้ศิลปินสามารถประกอบอาชีพสร้างรายได้ให้เพียงพอต่อการดำรงชีพได้ 

การเข้าพบครั้งนี้ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรมได้รับฟังปัญหาและความต้องการของนักการละคร และได้ตอบรับโครงการจัดหาวัคซีนกลุ่มที่ไทยเธียเตอร์ฟาวน์เดชั่นเสนอ TTF จึงเปิดให้ลงทะเบียนพร้อมจัดส่งรายชื่อไปเมื่อกลางเดือนกรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา

นอกจากนี้ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรมได้ชี้แจงสถานการณ์ของงบประมาณและระเบียบการของบอุดหนุนและงบกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัยปีงบประมาณ 2564 และ 2565 ไทยเธียเตอร์ฟาวน์เดชั่นจึงได้จัดลานประชาชนเพื่อสร้างความเข้าใจแก่นักการละครกับสถานการณ์ดังกล่าวในเวลาต่อมา

ไทยเธียเตอร์ฟาวน์เดชั่นจะติดตามผลและจะหาโอกาสเข้าพบหน่วยงานภาครัฐอย่างสม่ำเสมอเพื่อสร้างความเข้าใจอันดี รวมถึงสร้างโอกาสทำงานสอดประสานด้านนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งๆ ขึ้นไป

แถลงการณ์คัดค้านการละเมิดเสรีภาพทางศิลปะและใช้มาตรา 112 ลงโทษศิลปิน

ภาพ: สำนักข่าวประชาไท

ภาพ: สำนักข่าวประชาไท

 

สืบเนื่องจากคุณวิธญา คลังนิล สมาชิกกลุ่ม “ลานยิ้มการละคร” ได้จัดแสดงงานศิลปะอันเป็นกรณีพิพาทที่คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2564 และได้รับหมายเรียกในข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522

อีกทั้งสืบเนื่องจากคุณแววดาว ศิริสุขได้ฟ้อนเทวนารีที่อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ จังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2564 และถูกคุกคามจากเจ้าหน้าที่รัฐภายหลังนั้น

 
 
ภาพ: คุณแววดาว ศิริสุข

ภาพ: คุณแววดาว ศิริสุข

 


Thai Theatre Foundation ไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับการตั้งข้อหาและดำเนินการดังกล่าว


สังคมเสรีคือสังคมที่ประชาชนทุกคนล้วนมีสิทธิใช้วิจารณญาณของตนประเมินค่าว่างานศิลปะชิ้นใดเหมาะควรแก่การสร้างสรรค์หรือสนับสนุน เพราะงานศิลปะร่วมสมัยนั้นเปิดกว้างต่อการตีความ มิได้มีอรรถเพียงหนึ่งเดียว

สังคมเสรีต้องไม่ปิดกั้นหรือคุกคามงานศิลปะโดยอ้างเหตุว่างานศิลปะอันเป็นการแสดงแนวคิดที่แตกต่างของศิลปินนั้นเป็นการแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ เพราะหัวใจของประชาธิปไตยคือการปะทะสังสรรค์ทางความคิด มิใช่ความเงียบสงัด

Thai Theatre Foundation เห็นว่าการแสดงงานศิลปะไม่ว่าจะในครั้งใดไม่สมควรถูกคุกคามจากเจ้าหน้าที่รัฐหรือด้วยการดำเนินคดีเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เพื่อลงโทษศิลปิน จึงออกแถลงการณ์นี้เพื่อยืนหยัดเคียงข้างเสรีภาพทางศิลปะอีกครั้งหนึ่งและจะกระทำเช่นนี้ทุกครั้งไป


Thai Theatre Foundation มีพันธกิจเพื่อ “สนับสนุนและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ละครเวทีไทยร่วมสมัย” ภายใต้ค่านิยมหลัก “เสมอภาค หลากหลาย ไม่แบ่งแยก” เรายึดมั่นในการดำเนินนโยบายไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ปัจจุบัน Thai Theatre Foundation มีพันธมิตรทั้งสิ้น 102 แห่งทั้งในและต่างประเทศ

Hate Crimes against Asians and AAPIs.

There has been a disturbing and heartbreaking surge in violence against Asians, Asian Americans and Pacific Islanders across the US. Since the pandemic, there have been more than 3,800 reported cases of hate crimes against Asian Americans, a spike of 150 percent from the year prior. An 84-year-old immigrant from Thailand, Vicha Ratanapakdee, was among the Asian elders fatally attacked. Far too often, these cases are ignored and perpetrators of these crimes are not held accountable. 


Although authorities have not determined the attack in Atlanta on March 16, 2021 as a hate crime — which resulted in eight deaths, six of whom were of Asian descent — it is clear that these individuals were targeted because they were among the most vulnerable in our country: Asian women. 


Thai Theatre Foundation unequivocally condemns these horrific acts of violence in the strongest sense. Hate and bigotry have no place in a place as diverse as the US. We value our community and believe that equity, diversity, and inclusion are what makes us strong. We stand firmly with our AAPI kin, BIPOC and LGBTIQ+ community facing fear, intimidation, discrimination and hate incidents. This must end.


We grieve with the families of the victims and our Asian and AAPI community. We are living in extraordinarily difficult times. We must listen and support one another. We must come together in unity, rise up, and continue to call out acts of violence and injustice against our community and others.


To support and strengthen contemporary Thai theatre, and foster collaborations between Thai and American theatre makers, Thai Theatre Foundation will continue to show up for our Asian and AAPI community during this time and beyond. We are committed to uplifting Thai/Thai-American voices, advocating for our visibility and empowering artists to be agents of change, as we strive towards collective liberation.

Sign a Petition against Injustice and Violence in Myanmar

Human rights violations in Myanmar continue to rise following a coup on February 1, 2021. According to several international news agencies, at least 550 civilians have been slaughtered thus far. Among these, Poet Kayza Win was shot and killed. Several other members of the Myanmar artistic community were arrested because of their artistic freedom of expression.

 

In response to the Call to the Global Creative Community to Show Solidarity with the People of Myanmar issued by 15 arts organizations in Myanmar, Thai Theatre Foundation (US) and Thai Theatre Foundation Working Group (Thailand) along with the following organizations and individuals have united to issue this statement of solidarity with the People of Myanmar and to defend their artistic freedom of expression.

 

We demand an immediate end to all cruelties.

We demand accountability for all the crimes unjustifiably committed against the People of Myanmar.

No one should be persecuted for their artistic expression.

 

Defending artistic freedom of expression transcends political party lines and international borders. It is a nonpartisan issue because once one person’s right is violated, everybody’s right is violated. It is vital that we stand up against injustice not only in Thailand, but also in Myanmar and throughout the world.

 

This petition has been submitted to the Embassy of the Republic of the Union of Myanmar in Bangkok on April 08, 2021.

 
 

Organizations

  1. Thai Theatre Foundation Working Group (Thailand)

  2. Thai Theatre Foundation (USA)

  3. Bangkok International Performing Arts Meeting - BIPAM

  4. Throw BKK

  5. Prayoon for Art

  6. B-Floor theatre group

  7. Collective Thai Scripts

  8. FreeArts

  9. Democrazy Studio

  10. Dee-ng Theatre

  11. NOWY TEATR (Poland)

  12. Puppets by Jae

  13. Intimacy Coordinators of Color (USA)

  14. Crescent Moon Theatre

  15. SEM spirit in education movement

  16. New Yangon Theatre Institute (Myanmar)

  17. Five Arts Centre (Malaysia)

  18. BABYMIME

  19. Malongdu Theatre

  20. Toxiphilia

  21. Fine Arts Center, University of Massachusetts, Amherst (USA)

  22. Leviathan Lab (USA)

  23. Consortium of Asian American Theaters and Artists (USA)

  24. Baan Thai Club (USA)

  25. Miss Theatre

  26. Laboratory for Global Performance and Politics, Georgetown University (USA)

  27. PEN America's Artists at Risk Connection - ARC (USA)

 

Individuals

  1. Raksak Kongseng

  2. Peangdao Jariyapun

  3. Ployjai Pintobtang

  4. Gandhi Wasuvitchayagit

  5. Varissara Borkird

  6. Manita Chobchuen

  7. Nat Aphipongcharoen

  8. Narit Pachoei

  9. Kanharat Leamthong

  10. Adjjima Na Patalung

  11. Sumana Sumanakul

  12. Suranya Poonyaphitak

  13. Napak Tricharoendej

  14. Wit Sudthinitaed

  15. Thiptawan Uchai

  16. Varistha Nakornthap

  17. June Punkasem

  18. Nualpanod Nat Khianpukdee

  19. Danainan Kridakorn Na Ayudhaya

  20. DeeJai Cowles

  21. Kittiporn Rodvanich

  22. Nana Dakin

  23. Pacharakamol Chantri

  24. Sasithorn Panichnok

  25. Kemmachat sermsukcharoenchai

  26. Surachai Petsangrot

  27. Jarunun Phantachat

  28. Matt Mirmak

  29. Pattareeya Puapongsakorn

  30. Khin Thethtar Latt

  31. Yanee Laoviriyarat

  32. Thanavi Chotpradit

  33. Siree Riewpaiboon

  34. Chanok Chatawaraha

  35. Ladda Kongdach

  36. Chatrawee Sentanissak

  37. Phongsathat Sukhaphong

  38. Asirameth Nakornthab

  39. Ratapong Pinyosophon

  40. Maung Naong

  41. Suwicha Pitakkanchanakul

  42. Kitti Meechaikhett

  43. Lattapol Jirapathomsakul

  44. Pavinee Samakkabutr

  45. Christine Flemming

  46. Vichapon Diloksambandh

  47. Julian Pieniazek

  48. Prapassorn Suphab

  49. Jo Farrell

  50. Damisa Lakkanapinit

  51. Linda Lewin

  52. Parichat Jungwiwattanaporn

  53. Kwin Bhichitkul

  54. Po Po Kyaw

  55. Kyaw Naing

  56. Piyawan Sapsamroum

  57. Duangkaew Phungpermtrakool

  58. Olga Drygas

  59. Corinna Stich

  60. Chelsea Heikes

  61. Philip Towns

  62. Gerrit Heij

  63. Ming Panha

  64. Si Thu Saw Lwin

  65. Sirikarn Bunjongtad

  66. Inthira Vittayasomboon

  67. Lwin Ko Htike

  68. Rachel Finley

  69. Francesca Hsieh

  70. Chisom Awachie

  71. Javier

  72. Joshua Smalley

  73. Adrian Budhu

  74. Corinna Schulenburg

  75. Shawna James

  76. Erin Salvi

  77. Natalie Smith

  78. Veronika Silberg

  79. Ana Martinez

  80. Phana Petchsumrit

  81. Weerachat Srisoonthonthai

  82. Christopher Byatt

  83. Paloma McGregor

  84. Jazmyn Arroyo

  85. Prontip Mankhong

  86. Yaowanit

  87. Henry Lee

  88. Maria Mavridou

  89. Ngamsuk Ruttanasatain

  90. Sophie Aung

  91. Surasak Namwatsopon

  92. Emika Abe

  93. Akia Sembly

  94. Roland Ferger

  95. Pornoit Puckmai

  96. Nattawut Kongsawat

  97. Supachai Ketkaroonkul

  98. Suphachai Loedkittikoson

  99. Poonsuk Poonsukcharoen

  100. Peter Ruiz

  101. Suwimon Suphakdechaphon

  102. Traiwat Trairatvorakul

  103. Tran Thị Minh Chau

  104. Larry Ackerman

  105. Panu Boonpipattanapong

  106. Nuttapat Asakit

  107. Shelby

  108. Tasvara Klinklao

  109. Bulan

  110. Ben Busarakamwong

  111. Akirapong Rungcharoenpattanakit

  112. JJ

  113. Zina Ellis

  114. Sineenadh Keitprapai

  115. Rebecca Green

  116. Latoya

  117. Chinnakrit Soonthornwan

  118. Pamela Walker

  119. W. Ramseier

  120. Myo Myo Win

  121. Aung Bo Htway

  122. Melanie

  123. Proudpisut Sangouthai

  124. Mieko

  125. Sancho

  126. Min Chit Paing

  127. Nawaporn Ito

  128. Gomain Hoyes

  129. Benjamin Yuen

  130. Christoph Leuenberger

  131. Lauren E Turner

  132. David

  133. Shaminda Amarakoon

  134. Athena Gundlach

  135. Thaesuaye

  136. Wichai Juntavaro

  137. Danielle Bunch

  138. Lisa Schlesinger

  139. Ruth Pongstaphone

  140. Juan Coronado

  141. Christine Pascual

  142. Catherine Garcia

  143. Brandi

  144. Michelle Wilson

  145. Mark Andrew Garner

  146. Jaycee Holmes

  147. Sarinya Olsson

  148. Yasmyn Sumiyoshi

  149. Peerada Ngamsnae

  150. Mark Quach

  151. Sabrina Liu

  152. Jacky Jung

  153. Tanaporn Na Narong

  154. Nyunt Thin Saw

  155. Monthatip suksopha

  156. Kamkaeo Maneerot

  157. Supaporn

  158. Nuttamon Pramsumran

  159. Danai Ployplai

  160. Nattaporn Thapparat

  161. Emarin Aunjaichon

  162. Chansak Waneeworakun

  163. Pinyapach Pongpichatanapon

  164. Pichayes Jaitaharn

  165. Eakkapop Sansawat

  166. Sudarat Promseemai

  167. Kuntara

  168. Watcharakon Nawarattanakul

  169. Jirawut Ueasungkomsate

  170. Worada Jongnamchaisakul

  171. Supasin Kreecharoen

  172. Isriya Devahastin

  173. Nuchara suksangbun

  174. Pichate Kiewprasirt

  175. Tipprapa Roengsart

  176. Katika Punbuatoom

  177. Guillaume Langlois

  178. Adulayarasmi S.

  179. Sumphan Chitwilai

  180. Sakdina Chatrakul Na Ayudhya

  181. Patthama Huntone

  182. Kris Sanguanpiyapand

  183. Patchsita Paibulsiri

  184. Kunasin Nontawong

  185. Nontapong Tangtulanont

  186. Pinpinath Thangthong

  187. Natasha Nimmanwudipong

  188. Sittinee Korwongpanich

  189. Pattana Kakaiy

  190. Natthawut Taeja

  191. Alex Munro

  192. Sakuntala Yampiew

  193. Phatcharawan Khrueaphan

  194. Palita Empia

  195. Nannaphat Eakruengrit

  196. Kritsana Anutrakulchai

  197. Sunisa Sunglai

  198. Jetsada Chongsirichatuporn

  199. Chayanee Chaladthanyakij

  200. Pareerat Thongfua

  201. Panitan Kwankaew

  202. Sutthirak Petdee

  203. Piroonluk Jaemamporn

  204. Kamolsuang Aksharanugraha

  205. Chanamon Bejraputra

  206. Kittipak suksakorn

  207. Ajima Pacharadumrongkul

  208. Francis Jue

  209. Kiana Rivera

  210. Jimin Moon

  211. Lily Tung

  212. Tony Vo

  213. Alma Malabanan-McGrath

  214. Barbie Wu

  215. Chaw Ei Thein

  216. Quincy Surasmith

  217. Somar Lanh

  218. Sunny Leerasanthanah

  219. Pun Punyaratabandhu

  220. Teerawong Nanthavatsiri

  221. Tiri Kananuruk

  222. Riw Rakkulchon

  223. Roberta Levitow

  224. Ariel Estrada

  225. Emilya Cachapero

  226. M'leigha Buchanan

  227. Sharline Liu

  228. Liz U

  229. Tham Singpatanakul

  230. Siwaraya

  231. Pancharee Sangkaeo

  232. Thanyatorn Butryee

  233. Thiptawan Uchai

  234. Panchana Soonthornpipit

  235. Khamolpat Gomolvilas

  236. John Rooney

  237. Panisa Puvapiromquan

  238. Tharin Keeree

  239. Sugame Kanchanakuntikul

  240. Natthaya Yoosom

  241. Nutchanart Dithepeang

  242. Nicole Pasquale

  243. Elizabeth Wong

  244. Peerapol Kijreunpiromsuk

  245. Pathipon (​Miss Oat) Adsavamahapong

  246. Jenwit Narukatpichai

  247. Claire Stanley

  248. Carrie Lee Bland Kendall

  249. Catherine Filloux

  250. David L. Meth

  251. Pinky Latt

  252. Deborah Brevoort

  253. Monica Raymobd

  254. M. Burke Walker

  255. Jennifer Lynn Hines

  256. Nattha Raksat

  257. Marc Fajardo

  258. Daniel Banks

  259. Roberto Varea

  260. Danny Bryck

  261. Alyssa Cokinis

  262. Jim Chew

  263. David J Diamond

  264. Sanhawich Meateanuwat

  265. Maythaya Lomwong

  266. Elizabeth Becker

  267. Abie

  268. Shailesh & Rupal Trivedi

  269. Jasmine Li

  270. Christina Polanen

  271. Juli Hendren

  272. Amelia Parenteau

  273. Derek Goldman

  274. Zanetta Tribble

  275. Eva Short

  276. Sulu LeoNimm

  277. Zaza Muchemwa

  278. Kamin Wongpracha

  279. Julia Schonberg

  280. Fiona Teng

  281. Erin Donohue

  282. Bobbi Ausubel

  283. Wasin Pornphongsa

  284. Edward Ampansang

  285. Ako Dachs

  286. Sunny Hitt

  287. Joseph Yang

แถลงการณ์คัดค้านการละเมิดเสรีภาพทางศิลปะ ครั้งที่ 2

ภาพจาก ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

ภาพจาก ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

 

สืบเนื่องจากนายวิธญา คลังนิล สมาชิกกลุ่ม “ลานยิ้มการละคร” ได้จัดการแสดง "สำรอกบทกวี" เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ณ บริเวณประตูท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่และได้รับหมายจับจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติรวม 5 ข้อหา (เพิ่มเติมจากครั้งที่ 1) ได้แก่

  1. ร่วมกันกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ยุยงปลุกปั่น

  2. ฝ่าฝืนข้อกำหนดตามพระราชกำหนดการบริหาร ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน มาตรา 9 (2) 

  3. ฝ่าฝืนข้อกำหนดตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ มาตรา 18

  4. ไม่แจ้งการชุมนุมตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ

  5. ใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามพระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง

มูลนิธิละครไทยไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับการตั้งข้อหาดังกล่าว

สังคมเสรีคือสังคมที่ประชาชนทุกคนล้วนมีสิทธิใช้วิจารณญาณของตนประเมินค่าว่างานศิลปะชิ้นใดเหมาะควรแก่การสร้างสรรค์หรือสนับสนุน อีกทั้งต้องไม่ปิดกั้นหรือคุกคามงานศิลปะโดยอ้างเหตุว่างานศิลปะอันเป็นการแสดงแนวคิดที่แตกต่างของศิลปินนั้นเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบฯ เพราะหัวใจของประชาธิปไตยคือการปะทะสังสรรค์ทางความคิด มิใช่ความเงียบสงัด

มูลนิธิละครไทยเห็นว่าการแสดงงานศิลปะไม่ว่าจะในครั้งใดไม่สมควรถูกคุกคามด้วยการดำเนินคดีเป็นอย่างยิ่ง จึงออกแถลงการณ์นี้เพื่อยืนหยัดเคียงข้างเสรีภาพทางศิลปะอีกครั้งหนึ่ง

มูลนิธิละครไทยมีพันธกิจเพื่อ “สนับสนุนและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ละครเวทีไทยร่วมสมัย” ภายใต้ค่านิยมหลัก “เสมอภาค หลากหลาย ไม่แบ่งแยก” มูลนิธิละครไทยยึดมั่นในการดำเนินนโยบายไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ปัจจุบันมูลนิธิฯ มีพันธมิตรทั้งสิ้น 82 แห่งทั้งในและต่างประเทศ

 
fund+1.png
 

ร่วมกันสมทบทุนช่วยนักการละครสู้คดี

456-0-21696-7

ธนาคารกรุงไทย

นายวิธญา คลังนิล

สมทบทุนให้มูลนิธิละครไทยรณรงค์กับภาครัฐอย่างต่อเนื่อง

087-7-47409-8

ธนาคารกรุงเทพ

คณะบุคคล คณะทำงานจัดตั้งมูลนิธิละครไทย

 

ลงชื่อคัดค้านการละเมิดเสรีภาพทางศิลปะ

 
 

สืบเนื่องจากคุณวิธญา คลังนิล สมาชิกกลุ่ม “ลานยิ้มการละคร” ได้จัดการแสดง "สำรอกบทกวี" เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ณ บริเวณประตูท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่และได้รับหมายเรียกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติในข้อหา “ร่วมกันชุมนุมทำกิจกรรมหรือมั่วสุม ณ ที่ใด อันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบฯ” นั้น มูลนิธิละครไทยไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับการตั้งข้อหาดังกล่าว

สังคมเสรีคือสังคมที่ประชาชนทุกคนล้วนมีสิทธิใช้วิจารณญาณของตนประเมินค่าว่างานศิลปะชิ้นใดเหมาะควรแก่การสร้างสรรค์หรือสนับสนุน อีกทั้งต้องไม่ปิดกั้นหรือคุกคามงานศิลปะโดยอ้างเหตุว่างานศิลปะอันเป็นการแสดงแนวคิดที่แตกต่างของศิลปินนั้นเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบฯ เพราะหัวใจของประชาธิปไตยคือการปะทะสังสรรค์ทางความคิด มิใช่ความเงียบสงัด

นอกจากนี้ ภาครัฐกำลังดำเนินนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หากประชาชนสรรค์สร้างและเสพศิลป์ได้แต่เฉพาะในแบบที่รัฐเห็นชอบ ขาดเสรีภาพทางศิลปะ ก็คงจะเป็นไปมิได้เลยที่นโยบายนี้จะสัมฤทธิ์ผล

มูลนิธิละครไทยเห็นว่าการแสดงงานศิลปะไม่ว่าจะในครั้งใดไม่สมควรถูกคุกคามด้วยการดำเนินคดีเป็นอย่างยิ่ง จึงออกแถลงการณ์นี้เพื่อยืนหยัดเคียงข้างเสรีภาพทางศิลปะ

มูลนิธิละครไทยมีพันธกิจเพื่อ “สนับสนุนและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ละครเวทีไทยร่วมสมัย” ภายใต้ค่านิยมหลัก “เสมอภาค หลากหลาย ไม่แบ่งแยก” มูลนิธิละครไทยยึดมั่นในการดำเนินนโยบายไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ปัจจุบันมูลนิธิฯ มีพันธมิตรทั้งสิ้น 79 แห่งทั้งในและต่างประเทศ

 
 
fund 1.png
 

อัยการจะตัดสินว่าสั่งฟ้องหรือไม่วันที่ 13 สิงหาคม ร่วมกันสมทบทุนช่วยนักการละครสู้คดี

456-0-21696-7

ธนาคารกรุงไทย

นายวิธญา คลังนิล

สมทบทุนให้มูลนิธิละครไทยรณรงค์กับภาครัฐอย่างต่อเนื่อง

087-7-47409-8

ธนาคารกรุงเทพ

คณะบุคคล คณะทำงานจัดตั้งมูลนิธิละครไทย

 

ดูแถลงการณ์ฉบับทางการได้ ที่นี่

ผลักดันกับคณะกรรมาธิการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมของรัฐสภา

104467424_3231177900342856_2038903002049846284_o.jpg
 

เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. คุณเพียงดาว จริยะพันธุ์ ผู้แทนมูลนิธิละครไทยเข้ายื่นข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ณ หอภาพยนตร์ มูลนิธิขอขอบพระคุณหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) เป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้ด้วย

และเมื่อวันที่ 15 ก.ค.ที่รัฐสภา คุณธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะรองประธานคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาศึกษาด้านศิลปะและวัฒนธรรมในคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎรและคุณสุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา อนุ กมธ. รับยื่นหนังสือจากคุณเพียงดาว จริยะพันธุ์ คณะทำงานจัดตั้งมูลนิธิละครไทยและภาคีศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เพื่อขอให้ผลักดันและให้ความสำคัญกับอาชีพศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานศิลปะหลากหลายแขนง คุณธัญญ์วาริน กล่าวว่า จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมคณะอนุ กมธ. เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาต่อไป

คุณเพียงดาวกล่าวว่ามูลนิธิได้เปิดรับฟังความคิดเห็นอย่างกว้างขวางจากนักการละครเวทีไทยร่วมสมัยตลอดระยะเวลา 4 เดือน ที่ผ่านมาและสำรวจผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด -19 เพื่อให้เห็นทิศทางการปรับตัวรับสถานการณ์ทั้งในระยะฟื้นฟูและระยะยาว ทั้งนี้มูลนิธิได้เสนอให้ภาครัฐช่วยเหลือศิลปินและคนทำงานสร้างสรรค์ให้ได้มีพื้นที่สำหรับแสดงผลงานและสนับสนุนเงินช่วยเหลือทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมทั้งผลักดันให้กระทรวงวัฒนธรรมให้ความสำคัญกับศิลปะและคนในวงการศิลปวัฒนธรรมในระยะยาว เพื่อให้ศิลปินสามารถประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้เพียงพอต่อการดำรงชีพได้ 

ในการนี้ มูลนิธิละครไทยจึงได้จัดทําข้อเสนอแนะเบื้องต้นต่อคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและใคร่ขอความอนุเคราะห์พิจารณาข้อเสนอแนะเบื้องต้นจากมูลนิธิละครไทยเพื่อให้ภาครัฐและภาคประชาสังคมได้ทํางานฝ่าวิกฤตในครั้งนี้ไปด้วยกัน

อนึ่ง มูลนิธิละครไทยกําลังจัดทําสมุดปกขาว (white paper) เพื่อเสนอต่อคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรในโอกาสต่อไป



ลงชื่อเสนอให้กระทรวงวัฒนธรรมเยียวยาศิลปินละครเวทีอย่างเร่งด่วนที่สุด

กระทรวงวัฒนธรรมได้รวบรวมรายชื่อศิลปินพื้นบ้านและศิลปินร่วมสมัยเพื่อเสนอกระทรวงการคลังให้พิจารณาเยียวยาตามโครงการ “เราไม่ทิ้งกัน" รายละ 5,000 บาทต่อเดือนจำนวนทั้งสิ้น 26,000 รายในเดือนเมษายน 2563 กระนั้น มีศิลปินละครเวทีร่วมสมัยตกสำรวจจำนวนมาก

มูลนิธิละครไทยจึงรวบรวมรายชื่อผู้สนับสนุนให้กระทรวงวัฒนธรรมเยียวยาศิลปินละครเวทีร่วมสมัย รวมทั้งสิ้น 215 ท่าน และรายชื่อศิลปินละครเวทีร่วมสมัยที่ต้องการให้กระทรวงวัฒนธรรมเยียวยา รวมทั้งสิ้น 34 ท่าน ส่งกระทรวงวัฒนธรรมเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2563 เพื่อส่งต่อให้กระทรวงการคลังพิจารณาเยียวยานักการละครเวทีร่วมสมัยที่ยังไม่ได้รับการเยียวยาอย่างเร่งด่วนที่สุด

กระทรวงวัฒนธรรมได้รับรายชื่อจากมูลนิธิละครไทยและประสานงานกับกระทรวงการคลังเพื่อเยียวยานักการละครเวทีร่วมสมัยตามเกณฑ์ของกระทรวงการคลังแล้ว

 

รายชื่อผู้สนับสนุนให้กระทรวงวัฒนธรรมเยียวยาศิลปินละครเวทีร่วมสมัย

ณ วันที่ 7 พฤษภาคม 2563

  1. คุณรักษ์ศักดิ์ ก้งเส้ง — มูลนิธิละครไทย

  2. คุณเพียงดาว จริยะพันธุ์ — มูลนิธิละครไทย

  3. คุณกิตติพร โรจน์วณิช — มูลนิธิละครไทย

  4. คุณชวัตถ์วิช เมืองแก้ว — การประชุมนานาชาติศิลปะการแสดงแห่งกรุงเทพมหานคร

  5. คุณบุญพงษ์ พานิช — Cherry Theatreโรงละครเพื่อการพัฒนา

  6. คุณพรพรรณ อารยะวีรสิทธิ์  

  7. คุณบุศราพร เจริญกุลศักดิ์

  8. คุณคานธี วสุวิชย์กิต

  9. คุณกษิดิ์เดช ทองนุ่น  

  10. คุณจรรยา ธนาสว่างกุล — กลุ่มละครเสาสูง

  11. คุณเขมฌัษ เสริมสุขเจริญชัย — Democrazy theatre studio

  12. คุณศศพินทุ์ ศิริวาณิชย์ — บีฟลอร์เธียเตอร์ / BIPAM

  13. คุณฐกฤต วชิรเดชสกุล

  14. คุณนภัค ไตรเจริญเดช — อิสระ

  15. คุณรังสิมันตุ์ กิจชัยเจริญ — FahFun Production

  16. คุณภัทรนันทน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา

  17. คุณปฐมาภรณ์ วิริโยทัย

  18. รองศาสตราจารย์ ดร.ปาริชาติ จึงวิวัฒนาภรณ์ — มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  19. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริดา มโนมัยพิบูลย์ — ภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  20. คุณดาราพัสส์ ภิรนานนธ์  

  21. คุณวรุตม์ เข็มประสิทธิ์

  22. คุณจารุพงศ์ จันทรีย์ — ละครท่านอ๋อง จารุพงศ์

  23. คุณณัฐพล คุ้มเมธา — Babymime

  24. คุณรัฐพร ก้อนเชื้อรัตน์

  25. คุณกษิรา อัครอระเสริฐกิจ

  26. คุณณัฐธิตา วงศ์พรหม

  27. คุณชญานันทน์ ลิขิตรัตนดารา

  28. คุณณัฐธิตา วงศ์พรหม  

  29. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนัชพร กิตติก้อง — คณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.ขอนแก่น

  30. คุณกวิน พิชิตกุล — Dee-ng Theatre

  31. คุณสุรชัย เพชรแสงโรจน์ — อิสระ

  32. คุณระพีเดช กุลบุศย์ — 28Production

  33. คุณศรชัย ฉัตรวิริยะชัย — คณะละครขับเคลื่อนสังคมมาร็องดู

  34. คุณณัฏฐ์ อภิพงศ์เจริญ

  35. คุณปาลิตา สกุลชัยวานิช

  36. คุณกชวรรณ ฉายะวรรณ

  37. คุณสุมนา สุมนะกุล

  38. คุณปีย์วรา กิจจํานงค์พันธุ์ — Selladoor Asia Pacific

  39. คุณกฤตนู มะโนคำ

  40. คุณวริษฐา นาครทรรพ

  41. คุณลฎาภา โสภณกุลกิจ

  42. คุณนลธวัช มะชัย — กลุ่มลานยิ้มการละคร

  43. คุณนพีสี เรเยส

  44. คุณกุนทรา ไชยชาญ

  45. คุณอนันต์วัฒน์ ภุวิบรรณ์

  46. คุณพลอยใจ ปิ่นตบแต่ง

  47. คุณชลิต เจียรเกียรติ  

  48. คุณภาวิณี สมรรคบุตร — Democrazy Theatre Studio

  49. คุณผุสดี โกมาสถิตย์  

  50. คุณประดิษฐ ประสาททอง — อนัตตา

  51. คุณนันทิยา เดชอมรธัญ

  52. คุณพิชญ์ฌาชาญ เอี่ยมสอาด  

  53. คุณทักษิณา สวัสดิ์มา  

  54. คุณศิรเมศร์ อัครภากุลเศรษญ์ — New Theatre Society

  55. คุณพิไลพรรณ ธรรมมิตร — อิสระ

  56. คุณณัฐวิทย์ ณ นคร  

  57. คุณจารุนันท์ พันธชาติ — B-Floor

  58. คุณศักดิ์ดา ศรีศิริทรัพย์  

  59. คุณยิ่งศิวัช ยมลยง  

  60. คุณบุญฤทธิ์ ปานคำเดช — Tempest Dance Company

  61. คุณปวลักขิ์ สุรัสวดี — มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  62. คุณพัชรกมล จันทร์ตรี — มูลนิธิละครไทย

  63. คุณเบียร์ ยิ่งสุวรรณชัย — B-floor Theatre/กลุ่มละครใบ้ คนหน้าขาว

  64. คุณวินิตา แสง-ชูโต

  65. คุณสิริกาญจน์ บรรจงทัด — Puppet by Jae

  66. คุณสายฝน ไฝเส้ง — หน่วยงานของรัฐ

  67. คุณรัฐกร พันธรักษ์ — Too Long Theatre

  68. คุณพรชนก พรหมโลก  

  69. คุณณัฐพรรษ สำเริงเรือง  

  70. คุณณิชา รอดอนันต์ — คณะละครปู๊นปู๊น

  71. คุณดนัยนันท์ กฤดากร — Thai Theatre Foundation

  72. คุณปรมะ นิมิตรอานันท์  

  73. คุณมณีรัตน์ สิงหนาท  

  74. คุณธันยธร บุตรยี่ — มูลนิธิละครไทย

  75. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปวิตร มหาสารินันทน์ — ชมรมวิจารณ์ศิลปะการแสดง (International Association of Theatre Critics--Thailand Centre)

  76. คุณกชวรรณ หงส์ประภัศร — Toxiphilia

  77. คุณวรัญญา หมุนแก้ว — โรงเรียนสอนการแสดง Act-Things

  78. คุณพิชเญศ ใจทหาร — Babymime

  79. คุณกิตติพัฒน์ มณีใหญ่  

  80. คุณวรรัตน์ กาญจนราช — Kp Act

  81. คุณสุดาพิมพ์ โพธิภักติ

  82. คุณธารเทพ บานทรงกิจ

  83. คุณณัฐ นวลแพง

  84. คุณณัฐพัชร อาษากิจ

  85. คุณสุพิชชา เหรียญสกุล — นาฏศิลป์ไทย /สยามนิรมิต

  86. คุณสิงห์หา นุ่มนุ่น

  87. คุณวสุธร ปิยารมณ์

  88. คุณปิติพงษ์ ผาสุขยืด

  89. คุณวรวรรณ ปิ่นรัตนากร — Krabi Dance Arts

  90. คุณณัฐพร แสงศรี

  91. คุณมิ่ง ปัญหา

  92. คุณนภัส รอดบุญ

  93. คุณกิตติ มีชัยเขตต์ — เสาสูง

  94. คุณเมธญา ล้อมวงศ์  

  95. คุณเมษวี คุณากร  

  96. คุณมนุพร เหลืองอร่าม  

  97. คุณลัดดา คงเดช — พระจันทร์เสี้ยว

  98. คุณบุษยพัชร อุ่นจิตติกุล  

  99. รองศาสตราจารย์ชนิพรรณ บุตรยี่

  100. คุณละลิตา ฉันทศาสตร์โกศล — เป็นผู้เขียนบทละครเวที และออกแบบการแสดงให้กับคอนเสิร์ตของศิลปินแห่งชาติ ไม่ต่ำกว่า 40 โชว์

  101. คุณอริสรา แก้วม่วง — อิสระ

  102. คุณเจษฎา ด่านปาน — บริษัท รื่นเริงเจริญสุข (Entertainment Innovation Company)

  103. คุณอรรถชัย หาดอ้าน

  104. คุณอัจจิมา ณ พัทลุง — BICT Fest เทศกาลละครนานาชาติสำหรับเด็กและเยาวชนกรุงเทพฯ

  105. คุณโอฬาร เกียรติสมผล — Apropos

  106. คุณภัททิรา ไทยทอแสง  

  107. คุณเจมี่เสนะวัต เอี้ยงสำอางค์  

  108. คุณลภัสรดา ภิบาลวงษ์  

  109. คุณชยานันต์ เทพวนินกร — สยามพิฆเนศ

  110. คุณนรินทร์ ประสพภักดี  

  111. คุณอาภาวี ภู่ระหงษ์ เศตะพราหมณ์ — MUSIC GARDEN STUDIO

  112. คุณวสุธิดา ปุณวัฒนา  

  113. คุณอิสราพรรณ ดิษยพงษ์  

  114. คุณเชิดชนนี ตันธนวิกรัย  

  115. คุณมัทนา แซเตี่ยว  

  116. คุณขวัญนุช สุวรรณรัชตมณี — อิสระ

  117. คุณมาลินดา ภมรสุวรรณ  

  118. คุณสายฟ้า ตันธนา — OnBoxTheatreGroups

  119. คุณดนัย เมตไตรย์  

  120. คุณเววิรี อิทธิอนันต์กุล  

  121. คุณชณิตณัท สุดแสวง  

  122. คุณนวลปณต ณัฐ เขียนภักดี  

  123. คุณภาสุร์ ณ สงขลา  

  124. คุณคำแก้ว มณีโรจน์ — English Drama Club

  125. คุณชัชวัฒน์ แสนเวียง — Pentu - penta Group

  126. คุณอาคีรา โหมดสกุล  

  127. คุณธัญญารัตน์ ลิมปวุฒิวรานนท์  

  128. คุณอัจฉรา สุริยะ  

  129. คุณธีระวัฒน์ มุลวิไล — B-floor

  130. คุณจิราวัฒน์ จิระดำรง  

  131. คุณอรุณโรจน์ ถมมา  

  132. คุณอัศรัญ มะ

  133. คุณสรัญรัตน์ แสงชัย

  134. คุณภาคภูมิ เจริญวิริยะ

  135. คุณฉัตรรวี เสนธนิสศักดิ์

  136. คุณพรทิพย์ พึ่งพาพงศ์

  137. คุณทัฬห์ธเนศ ปลื้มมีชัย

  138. คุณสกาว กานต์กรกมล

  139. คุณศรวณีย์ พรพิทักษ์พงศ์ — เมืองไทยรัชดาลัยเธียร์เตอร์

  140. คุณอิสระ ฮาตะ

  141. คุณพรรำไพ แจ่มจำรัส — ฅนทำคนดู

  142. คุณปณชัย ฉายาวิจิตรศิลป์

  143. คุณชนก ชาตะวราหะ

  144. คุณสิรี ริ้วไพบูลย์

  145. คุณอธิพงษ์ อมรวงศ์ปีติ

  146. คุณปัณณวัชร์ เดชะปัญญา — Selladoor Asia Pacific

  147. คุณวินิจฐา จิตร์กรี

  148. คุณเท่าฟ้า มณีประสพโชค

  149. คุณสุรพงศ์ รักษาจันทร์

  150. คุณทิพย์ตะวัน อุชัย — BU Theatre Company

  151. คุณรัชชัย รุจิวิพัฒน์ — BABYMIME

  152. คุณพลอยพิชชา ศรประสิทธิ์

  153. คุณกุลธิดาฐ์ อักษรนันทน์

  154. คุณโชษิตา คำปันนา — รัชดาลัยเธียเตอร์

  155. คุณจิรปรียา มาช่วย

  156. คุณชัยทัต ทรัพย์ปัญญาดี

  157. คุณนิธิ จันทรธนู — คณะละครอนัตตา / แอมเบียนซ์สตูดิโอ

  158. คุณสิรีน กาญจนมณี

  159. คุณธีรพันธ์ เงาจีนานันต์

  160. คุณญาณี เหล่าวิริยะรัตน์ — CherryLala Learning Center

  161. คุณปิยะวัฒน์ ธรรมกุลางกูร — ภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  162. คุณนิกร แซ่ตั้ง — คณะละครแปดคูณแปด

  163. คุณกิตติ หมุดหละ

  164. คุณพิพัฒนพงศ์ ศักดาณรงค์ — โรงละครรัชดาลัยเธียเตอร์

  165. คุณวัชรายุธ์ สุรเดช — Co-Dreamer

  166. คุณฟารีดา จิราพันธุ์ — อิสระ

  167. คุณนารีรัตน์ เหว่ยยือ — อิสระ

  168. คุณวิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล — Apropos

  169. คุณชญาดา โชติมงคล

  170. คุณกมลสรวง อักษรานุเคราะห์ — Toxiphilia

  171. คุณนฤทธิ์ ปาเฉย

  172. คุณวรัฏฐา ทองอยู่

  173. คุณนีลชา เฟื่องฟูเกียรติ — เบิร์ดคิดแจ่ม

  174. คุณวิปัศยา อยู่พูล — คณะละครมาร็องดู

  175. คุณรณภัฎ วงศ์ภา — คณะละครขับเคลื่อนสังคมมาร็องดู

  176. คุณธนุพล ยินดี — กลุ่มละครมะขามป้อม / Act up เชียงใหม่

  177. คุณณัฐฐาพิรุฬห์ แจ่มอำพร — HOMEROOM

  178. คุณกัญญาพัชร สะสอง — ชมรมการแสดง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  179. คุณหรรษลักษณ์ จันทรประทิน 

  180. คุณพันธกิจ หลิมเทียนลี้ — Shut up and Play Theatre

  181. คุณประภัสสร คอนเมือง — ลานยิ้มการละคร

  182. คุณอิสรีย์ ตนะเผ่าทิพย์ — อิสระ

  183. คุณพิไลวรรณ วิแสง

  184. คุณอดุลยรัศมิ์ สุวรรณจักรา 

  185. คุณณอัญญา สาวิกาชยะกูร — คณะละครขับเคลื่อนสังคมมาร็องดู

  186. คุณนรันดร์ โพธิ์ถาวร  

  187. คุณปิยฉัตร สินพิมลบูรณ์ — กลุ่มละครมะขามป้อม / มะขามป้อม อาร์ท สเปซ

  188. คุณฌานล สมสุพรรณ — ชมรมการแสดงมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  189. คุณแก้วตา เกษบึงกาฬ — ชมรมวิจารณ์ศิลปะการแสดง / พอดแคสต์ Bangkok Offstage

  190. คุณสุธารัตน์ สินนอง — Homemade Puppet

  191. คุณณัฐฐาพิรุฬห์ แจ่มอำพร — Homeroom

  192. คุณวุฒิเชษฐ์ เค็มฟ์  

  193. คุณกัญญาพัชร สะสอง — ชมรมการแสดง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  194. คุณปพน สุขะตุงคะ  

  195. คุณใจแจ่ม วรรณพัฒน์  

  196. คุณสุกัญญา บุญช่วย  

  197. คุณเสาวณีย์ ห่อหริตานนท์  

  198. คุณอัจฉรา กันทวี  

  199. คุณประกายดาว คันธะวงศ์  

  200. คุณพรเทพ เพชรสัมฤทธิ์ — Thong Lor Art Space Bangkok

  201. คุณกิตติพงศ์ มหานาม  

  202. คุณจิดาภา วรวงษ์  

  203. คุณสุวรรณา อ่อนน้อม — ชมรมการแสดง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  204. คุณพรเพ็ญ ฟ้าอำนวย — On Dot A Creative Theatre

  205. คุณเกวลิน สิงหาคำ

  206. คุณปฐมาภรณ์ วิริโยทัย

  207. คุณณัฐวัตร เอกเกื้อกรุณา — นักออกแบบแสงอิสระ

  208. คุณ Anchuli King — นักเขียนบทละคร

  209. คุณเมธาสิทธิ์ ปานทับ  

  210. คุณชลเทพ ณ บางช้าง  

  211. คุณมานพ มีจำรัส — กลุ่มอิสระละครเวที

  212. คุณบุญรัตน์ ศิริรัตนพันธ  

  213. คุณชญานนท์ จองประเสริฐ

  214. คุณเจริญพงศ์ ชูเลิศ — กลุ่มนิทานใบไม้

  215. คุณพิมพ์ภัทร ชูตระกูล

 

ผลกระทบ COVID-19 ที่มีต่อศิลปินละครเวทีไทยร่วมสมัย

COVID-19+survey+report.001.jpeg
 

มูลนิธิขอขอบพระคุณศิลปินทุกท่านที่ร่วมตอบแบบสำรวจและขอบพระคุณทุกท่านที่สนใจรายงานผลสำรวจผลกระทบ COVID-19 ที่มีต่อศิลปินละครเวทีไทยร่วมสมัย