ลงชื่อคัดค้านร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน พ.ศ. …

 
Blue and Green Real Estate Yard Sign.gif
 
 

ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 อนุมัติหลักการของ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน พ.ศ. … ปัจจุบันอยู่ระหว่างเปิดรับฟังความคิดเห็นโดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกานั้น

ไทยเธียเตอร์ฟาวน์เดชั่นรู้สึกกังวลต่อร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน พ.ศ. … ฉบับนี้เป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุจะรั้งให้ภาคประชาสังคมถดถอยมากกว่าจะส่งเสริมให้รุดหน้า

ในแง่ข้อกฎหมาย องค์กรภาคประชาสังคมหลายแห่งได้ออกแถลงการณ์ก่อนหน้าแล้ว ท่านสามารถอ่านข้อกังวลในแง่กฎหมายขององค์กรต่างๆ ได้ดังนี้

  1. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW)

  2. องค์กรโพรเทคชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล

  3. สถาบันระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายเพื่อกิจการไม่แสวงหากําไร (International Center for Not-for-Profit Law หรือ ICNL)

ในมิติศิลปะ แม้ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีหลักการที่จะส่งผลดีบางประการต่ออุตสาหกรรมศิลปะละครเวทีร่วมสมัย อาทิ คณะละครจะสามารถจดทะเบียนเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน (Nonprofit Organization) ในรูปแบบที่มิใช่มูลนิธิหรือสมาคมได้ อันเป็นรูปแบบที่ไม่เคยปรากฏมีในประเทศไทยมาก่อน อีกทั้งอาจมีสิทธิได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการจากรัฐเมื่อจดแจ้งแล้ว กระนั้นร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้กลับมีโทษมากกว่าคุณ 

ประการแรก ข้อกำหนดหลายประการของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้สร้างเงื่อนไขให้ผู้บริจาค ส่งผลให้การระดมทุนยากลำบากขึ้น

ตัวอย่างเช่น การกำหนดให้ต้องเปิดเผยแหล่งที่มาและจำนวนของเงินหรือทรัพย์สินเป็นการละเมิดเงื่อนไขของผู้บริจาคที่ไม่ประสงค์ออกนาม การไม่ประสงค์ออกนามมิได้บ่งชี้เจตนาฟอกเงินเสมอไป หลายต่อหลายครั้งผู้บริจาครายใหญ่ไม่ประสงค์ออกนามด้วยเหตุผลต่างกัน เช่น ไม่ประสงค์ให้องค์กรอื่นทราบและมาขอรับบริจาคด้วย อันจะรบกวนความเป็นส่วนตัว เงื่อนไขนี้อาจทำให้ผู้บริจาคพิจารณาบริจาคในจำนวนที่น้อยลงหรือไม่บริจาคเลย ส่งผลเสียโดยตรงต่อคณะละครเวที นอกจากนี้ยังกำหนดให้รับทรัพย์สินจากนอกราชอาณาจักรไทยได้เฉพาะกิจกรรมที่รัฐมนตรีกำหนดเท่านั้น แต่ไม่ระบุชัดเจนว่าข้อกำหนดดังกล่าวคืออะไร ข้อกำหนดนี้อาจจำกัดช่องทางระดมทุนโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคณะละครเวทีขนาดเล็กและกลางของไทยที่รายได้จากการระดมทุนกว่า 91% มาจากองค์กรต่างประเทศ (รักษ์ศักดิ์ ก้งเส้ง, 2559)

ประการที่สอง ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้อาจนำไปสู่การเลือกปฏิบัติและปิดกั้นเสรีภาพทางศิลปะ

ข้อกำหนดให้รับทรัพย์สินจากนอกราชอาณาจักรไทยได้เฉพาะกิจกรรมที่รัฐมนตรีกำหนดนั้นมิได้ระบุชัดเจนว่ามีเงื่อนไขอะไรบ้าง เป็นการเปิดช่องว่างให้ผู้มีอำนาจใช้ดุลยพินิจปิดกั้นช่องทางระดมทุนสำหรับสร้างสรรค์งานในประเด็นที่ตนไม่เห็นด้วยหรือไม่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอ เมื่อไม่มีทุนมากพอ ประเด็นที่ถูกปิดกั้นก็จะไม่อาจงอกเงยเกิดเป็นบทสนทนาในสังคมได้เฟื่องฟูเท่าประเด็นที่ผู้มีอำนาจสนับสนุน เป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของคณะละครเวทีที่ถูกเลือกปฏิบัติ

ประการที่สาม คณะละครเวทีจะต้องแบกรับภาระและความเสี่ยงอันเกินจำเป็น ส่งผลให้อุตสาหกรรมชะงักงัน

ปัจจุบันคณะละครเวทีมีตัวเลือกจดแจ้งเป็นเพียงหน่วยภาษี เช่น คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และไม่มีข้อบังคับให้ต้องสอบบัญชี เพียงแต่ต้องจัดทำรายงานบัญชีรับ - จ่ายนำส่งกรมสรรพากร ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จะบังคับให้คณะละครขนาดเล็กและกลางต้องสอบบัญชีภายใน 60 วันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ข้อกำหนดนี้นอกจากจะมีโทษสูงไม่ได้สัดส่วนและเพิ่มภาระงานในการบันทึกรายการตามมาตรฐานการบัญชีแล้ว ยังจะเพิ่มค่าใช้จ่ายในการสอบบัญชีที่สูงจนทำให้คณะละครขนาดเล็กและกลางหลายแห่งขาดทุนทันทีอีกด้วย

เนื่องด้วยวงการละครเวทีไทยมีภาวะขาดแคลนนักบริหารจัดการละครอย่างรุนแรงอยู่แล้ว ศิลปินจะไม่สามารถแบกรับภาระที่เพิ่มขึ้นนี้โดยลำพังได้ ผลกระทบแรกคือจำนวนคณะละครเวทีขนาดเล็กและกลาง รวมถึงจำนวนชิ้นงานสร้างสรรค์ตลอดปีจะลดลง ผลกระทบที่ตามมาคือการผลิตสื่อศิลปะอันมีอัตราการขยายตัว (YoY) ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) สูงสุดในทุกสาขาการผลิตติดต่อกันทุกปีนับแต่ปี 2559 จนกระทั่งเกิดวิกฤตโควิด-19 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2564) จะถดถอย สร้างความสูญเสียต่อเศรษฐกิจชาติโดยไม่จำเป็น

ประการที่สี่ ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่สอดคล้องกับกรอบแนวคิด “ล้มแล้วลุกไว” (Resilience) ของแผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอันเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด 19

แผนแม่บทฯ ดังกล่าวมีเป้าประสงค์ให้พร้อมรับ (Cope) ปรับตัว (Adapt) และเปลี่ยนแปลงเพื่อพร้อมเติบโตอย่างยั่งยืน (Transform) ข้อกำหนดที่กล่าวมาข้างต้นล้วนแต่ขัดต่อแนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากภายในประเทศ (Local Economy) นอกจากจะไม่ช่วยยกระดับขีดความสามารถของประเทศเพื่อรองรับการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว (Future Growth) แล้ว ยังไม่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของคนให้เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ (Human Capital) รวมถึงสวนทางต่อการปรับปรุงและพัฒนาปัจจัยพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูและพัฒนาประเทศ (Enabling Factors) อีกด้วย กล่าวได้ว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นการซ้ำเติมอุตสาหกรรมละครเวทีไทยที่ประสบภาวะวิกฤตโควิด-19 อย่างรุนแรงอยู่แล้วให้กลับมายืนได้ด้วยตนเองยากขึ้นไปอีก

เหตุนี้ ไทยเธียเตอร์ฟาวน์เดชั่นจึงขอคัดค้านร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน พ.ศ. … ฉบับนี้

 

ร่วมลงชื่อคัดค้าน

 

รายนามบุคคลทั่วไปและองค์กรที่สนับสนุนแถลงการณ์นี้

TTF จะปิดรับรายชื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2564 และจะนำส่งรายนามผู้สนับสนุนแถลงการณ์ด้านล่างนี้ไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในลำดับต่อไป

บุคคลทั่วไป

  1. รักษ์ศักดิ์ ก้งเส้ง

  2. เพียงดาว จริยะพันธ์ุ

  3. ลัดดา คงเดช

  4. พิมพ์ภัทร ชูตระกูล

  5. ทิพย์ตะวัน อุชัย

  6. ธันยธร บุตรยี่

  7. ญาณี เหล่าวิริยะรัตน์

  8. เผ่าภูมิ ชิวารักษว์

  9. จารุนันท์ พันธชาติ

  10. สรวิศ ชินแสงทิพย์

  11. วรัฏฐา ทองอยู่

  12. ศศพินทุ์ ศิริวาณิชย์

  13. ภคมน เหมะจันทร์

  14. พุทธิพร สุทธิมานัฎ

  15. ธีระวัฒน์ มุลวิไล

  16. จุฑาพิชญ์ อุสาหะ

  17. เขมฌัษ เสริมสุขเจริญชัย

  18. อรรนพ​ กิจเกษร

  19. ภาสกร อินทุมาร

  20. สิริกาญจน์ บรรจงทัด

  21. นัสรี ละบายดีมัญ

  22. สุทธามน วรพงษ์

  23. สุพงศ์ จิตต์เมือง

  24. ชัยณรงค์ สาทแก้ว

  25. เจนวิชญ์ นฤขัตพิชัย

  26. นวลปณต ณัฐ เขียนภักดี

  27. กรินทร์ ใบไพศาล

  28. สุรศักดิ์ นามวัฒน์โสภณ

  29. อาริยา เทพรังสิมันต์กุล

  30. ประภามณฑล เอี่ยมจันทร์

  31. ปวิตร มหาสารินันทน์

  32. สินีนาฏ เกษประไพ

  33. ณัฐพัชร อาษากิจ

  34. อาตัน อาแว

  35. ปรัชญา สืบประสิทธิ์วงศ์

  36. สรินยา ออลสัน

  37. Janjira Sawangyen

  38. ธนดล กรโกสียกาจ

  39. วริศรา บ่อเกิด

  40. ภูมิภัทร ถาวรศิริ

  41. รัชชัย รุจิวิพัฒน์

  42. วสุรัชต อุณาพรหม

  43. ณัฐ​พล​ คุ้ม​เมธา​

  44. กิตติพร โรจน์วณิช

  45. พีรพล กิจรื่นภิรมย์สุข

  46. พรจิตตรา วงค์​ศรีสวัสดิ์​

  47. อังกฤษ อัจฉริยโสภณ

  48. วีระยุทธ บำรุงธนทรัพย์

  49. พีระพงศ์ รุณจำรัส

  50. ธนุพล ยินดี

  51. ญาดา เกรียงไกรวุฒิกุล

  52. ฤทธิชัย โฉมอัมฤทธิ์

  53. ธนาวัฒน์ รายะนาคร

  54. พฤหัส พหลกุลบุตร

  55. ภัทรภร เกิดจังหวัด

  56. ลัทธพล จิรปฐมสกุล

  57. วัชรพงศ์ สว่างภพ

  58. ชญานิศ อัศวธีรากุล

  59. วีรภัทร พัฒลากุล

  60. กวิน พิชิตกุล

  61. ศรัณญ์ เจนชัย

  62. นีลชา เฟื่องฟูเกียรติ

  63. พดุงศักดิ์ คชสำโรง

  64. มนุพร เหลืองอร่าม

  65. วิชย อาทมาท

  66. คัทลียา เผ่าศรีเจริญ

  67. ตรัสวิน จิตติเดชารักษ์

  68. นฤมล ธรรมพฤกษา

  69. สุพิชชา ศรีหงส์

  70. ปกรณ์ ธรรมพฤกษา

  71. สุวภัทร พันธ์ปภพ

  72. อรุณโรจน์ ถมมา

  73. อธิพงษ์ อมรวงศ์ปีติ

  74. ผศ.ดร.ปริดา มโนมัยพิบูลย์

  75. เบญจ์​ บุษราคัมวงศ์

  76. นันทิยา เดชอมรธัญ

  77. ณัฐธิตา วงศ์พรหม

  78. อาภาวี เศตะพราหมณ์

  79. อัจจิมา ณ พัทลุง

  80. ธนา ปุญเกษม

  81. เพ็ญวดี นพเกตุ มานนท์

  82. อนาวิล เจียมประเสริฐ

  83. ปณชัย ฉายาวิจิตรศิลป์

  84. ธัญธร คุณาภิญญา

  85. อัจฉรา สุริยะ

  86. พัชรกมล จันทร์ตรี

  87. สิตาภา สกุลดีเลิศ

  88. ปัณฑารีย์ สุวรรณิน

  89. กชวรรณ ฉายะวรรณ

  90. ปวลักขิ์ สุรัสวดี

  91. โชติกานต์ บุลชัยยุวัฒน์

  92. วีรภัทร บุญมา

  93. กัณหรัตน์ เลี่ยมทอง

  94. พรเทพ เพชรสัมฤทธิ์

  95. นรันดร์ โพธิ์ถาวร

  96. ประภัสสร สุภาพ

  97. อาคีระ กิจธนโสภา

  98. ประดิษฐ ประสาททอง

  99. ไอรินทร์ ศิระวิเชษฐ์กุล

  100. ณัฐพร เทพรัตน์

  101. ปฐมาภรณ์ วิริโยทัย

  102. สิรี ริ้วไพบูลย์

  103. เวลา อมตธรรมชาติ

  104. วสวัตติ์ ดุลยวิทย์

  105. ศุรัณยา ปุญญพิทักษ์

  106. ดมิสา ลักขณาพินิจ

  107. สัณห์ชัย โชติรสเศรณี

  108. น้ำตาล สุทธวาทิน

องค์กรด้านละครเวทีและศิลปะร่วมสมัยอื่นๆ

  1. พระจันทร์เสี้ยวการละคร

  2. บีฟลอร์เธียเตอร์

  3. Throw BKK

  4. Democrazy theatre studio

  5. Producers of Thai Performing Arts Network

  6. Babymime​

  7. กลุ่มละครมะขามป้อม

  8. Dee-ng Theatre

  9. For What Theatre

  10. เครือข่ายละครกรุงเทพ Bangkok Theatre Network

  11. คณะละครอนัตตา

  12. เครือข่ายจัดตั้งมูลนิธิประยูรเพื่อศิลปะ

  13. Showhopper Co., Ltd.