ทำไมการสร้างงานศิลปะที่คำนึงถึงสังคมถึงกำลังเป็นที่นิยมในหมู่คนยุคใหม่
บทความนี้เราจะพาผู้อ่านทุกท่านมาทำความเข้าใจถึงหลักคิดอีกรูปแบบของการสร้างงานศิลปะ
ที่ผสมผสานวิธีคิดการหาไอเดียการสร้างงานที่คำนึงถึงสังคมแต่ศิลปะก็ยังมีความเป็นตัวของตัวเองได้
ปัญหาไหนที่เป็นระดับสังคมส่วนมากเกิดจากทุกอาชีพร่วมกันสร้าง เช่น มลภาวะ โลกร้อน คอร์รัปชัน เหลื่อมล้ำ
แต่เวลาแก้ไขเรากลับไม่ค่อยช่วยกันแก้ เราพึ่งบางอาชีพให้เขามาแก้แทนเรามากเกินไป
เวลามีปัญหาใหญ่ระดับสังคมรัฐบาลจะเรียกทุกภาคส่วนมาหารือแต่ส่วนใหญ่ไม่มีภาคศิลปะ
ในเวลานี้ที่อาชีพบางอย่างกำลังหายไปในทุกวัน เพราะอาชีพนั้นไม่รู้ว่ามันกำลังช่วยเหลือใครอยู่
และอาชีพใหม่ที่ขึ้นมาเพราะมันรู้ว่ามันกำลังทำให้ชีวิตใครดีขึ้นหรือรู้ว่ามันกำลังแก้ปัญหาให้ใคร
ครูแก้ปัญหาให้คนที่ยังไม่รู้ หมอแก้ปัญหาให้คนที่ยังไม่สบาย กุ๊กแก้ปัญหาให้คนที่ยังไม่อิ่ม ศิลปินแก้ปัญหาให้อะไร
บ้างบอกศิลปินแก้ปัญหาให้สังคม คำถามคือสังคมเวลามีปัญหานั้นต้องการศิลปินมากแค่ไหน
เด็กเรียนศิลปะคนหนึ่งบอกศิลปะแก้ปัญหาให้คนที่ยังไม่มีความสุข
ลองถามคนส่วนใหญ่ที่ยังไม่มีความสุขดูว่าสามวิธีแรกที่เขาเลือกแก้ปัญหาคืออะไร
ส่วนใหญ่ตอบว่าไปเที่ยวที่ ๆ ชอบ หาอะไรอร่อย ๆ กิน ฟังเพลงดู Netflix
ถ้าในเชิงอาชีพเด็กคนนั้นกำลังเลือกแก้ปัญหาที่มีคู่แข่งเยอะ และสามอันดับแรกไม่มีศิลปะในตัวเลือกด้วยซ้ำ
ถ้าอยากอยู่รอดก็ต้องทำงานของตัวเองให้มีคุณภาพมากขึ้น หรือไม่ก็ลองเลือกแก้ปัญหาอื่นไปเลย
Sustainability trends that shape the future คือเรื่องที่ต้องจับตา
เด็กรุ่นใหม่ต่อจากนี้ Trend ของยุคจะไม่ใช่เรื่อง Objects แต่จะเป็นเรื่องของหลักคิด (Main Idea)
หลักคิดที่คิดว่าจะทำยังไงที่จะช่วยให้โลกนี้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในทุก ๆ มิติ
“คนรุ่นก่อน Save our future” “คนรุ่นนี้ We don’t have time” “คนรุ่นต่อจากนี้ Everyday is future”
หลังจากนี้อาชีพใดหรือผู้ใหญ่คนไหนตอบเด็กไม่ได้ว่าสิ่งที่ทำมันจะช่วยโลกนี้ให้ดีขึ้นยังไง ก็จะไม่ได้รับการยอมรับ
หลายปีก่อนถ้าเปิดโครงการชิงทุนแก้ปัญหาสังคมจะเห็นเยาวชนสมัครร่วมน้อยมาก
เวลานี้ลองเปิดรับสมัครดูจะเห็นคนรุ่นใหม่แห่สมัครล้นหลาม แต่จำนวนทุนที่ให้ก็ยังมีจำกัด
รัฐบาลถ้าอยากร่วมสมัยงานที่ต้องทำคือหาไอเดียสนับสนุนกลุ่มคนที่พลาดทุนให้มากกว่ากลุ่มคนที่ได้ทุน
ความยากของคนที่ทำงานยุคเก่าคือช่องทางการสื่อสาร แต่ของคนยุคนี้คือการทำยังไงให้ไม่โดนบดบัง
ลองคิดถึงปัญหาอะไรที่ตัวเราสนใจที่จะช่วยทำให้ชีวิตผู้คนดีขึ้นกว่านี้ได้
แล้วในปัญหาที่สนใจลองคิดดูว่าตัวเราเองสามารถทำอะไรได้บ้าง
ถ้าแก้ปัญหาการเมืองด้วยนักการเมือง แบบนี้คือการแก้ปัญหาแบบปกติ (Fix Solution)
ถ้าแก้ปัญหาการเมืองด้วยนักศิลปะ หมอ กุ๊ก เกมเมอร์ ช่างตัดผม ครู ฯลฯ แบบนี้คือแบบใหม่ (Creative Solution)
โลกยุคใหม่ทุกอาชีพมีโอกาส 2 อย่าง คือ แก้ปัญหาเดิมที่ยังแก้ได้ไม่ดีกับแก้ปัญหาให้อาชีพอื่นที่ยังแก้ปัญหาเดิมได้ไม่ดี
ความยั่งยืนเมื่อก่อนคือการคิดเพื่อวันข้างหน้า แต่วันนี้คือการรู้ว่าทุกสิ่งที่เราทำเป็นส่วนหนึ่งกับทุกอย่างบนโลกยังไง
ศิลปินและบางคนยังกลัวคำว่าธุรกิจเพราะว่ามันคือเรื่องของเงิน คือเรื่องของการตอบสนองความต้องการผู้อื่น (Market)
ธุรกิจคืองานของการแก้ปัญหาและได้รับค่าตอบแทน ส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่เรียกว่าเงิน
แต่จริง ๆ ธุรกิจไม่ได้หมายถึงแค่การต้องทำตามแต่สิ่งที่ผู้อื่นต้องการเท่านั้น
ธุรกิจยังหมายถึงการทำสิ่งที่เราชอบเรารักและเป็นเราที่สุด แต่งานจริง ๆ คือทำยังไงให้ทุกคนมารักในสิ่งที่เราเป็น
การทำให้ทุกคนรักในสิ่งที่เราเป็นไม่ใช่แค่ทักษะในวิชาชีพ แต่มันมีเรื่องการสื่อสาร การตลาด Branding ดูแลลูกค้า ฯลฯ
ซึ่งไม่ว่าจะเลือกทางไหน ทุกสิ่งทุกอย่างเรียนรู้ได้เสมอ และทุกคนไม่มีใครเริ่มต้นจากก้าวที่สอง
สิ่งที่ควรรู้ในโมเดลธุรกิจเพื่อสังคม คือ รู้ปัญหา รู้ว่าใครแก้อยู่ รู้ว่าเขาแก้แบบไหน (Fix/Creative) และ รู้ว่าสินค้าบริการเขาคืออะไร
ความท้าทายในงานแก้ปัญหาสังคมคือ โมเดลธุรกิจ การสื่อสาร การขยายผล
การวัดผลสำเร็จทางสังคมเชิงตัวเลขคือสิ่งที่การสร้างงานศิลปะในหลักคิดปกติทำลำบาก
Art for social impact คือ โมเดลที่จะช่วยให้ภาคศิลปะเป็นบทบาทสำคัญในการร่วมแก้ปัญหาสังคมอีกทาง
โมเดลที่ทุกฝ่ายจะได้ร่วมกันทำงาน คือ “มีปัญหา + มีผู้แก้เดิม (รัฐ เอกชน ภาคสังคม) + รูปแบบการแก้ + สินค้าบริการ + ภาคศิลปะ (Power Full Communication) + เปิดทางให้ประชาชนร่วมแก้ปัญหา (Call to action)”
ศิลปะคือ Power Full Communication เพราะไม่ว่าเราจะอายุเท่าไร เพศอะไร อาชีพไหน มีความเชื่ออะไร เราทุกคนก็ยังฟังเพลง ดูละคร ดูหนัง ดูงานศิลปะ
ถ้าปัญหาใหญ่ ๆ ในสังคมล้วนเกิดจากทุกอาชีพนั้นช่วยกันสร้างขึ้น การใช้ศิลปะช่วยสื่อสารก็คือกลยุทธ์ที่ใช้ได้ผลเสมอ
มี Case Study ในโลกมากมายที่พิสูจน์แล้วว่าการใช้ศิลปะมาช่วยสื่อสารปัญหาสังคมนั้นสร้างให้เกิด Social Impact ได้เร็ว
ญี่ปุ่นใช้ศิลปะวาดรูปในนาข้าวช่วยให้คนทั้งเมืองหันมาสนใจแก้ปัญหาเกษตรกร
บราซิลใช้การจัดเทศการศิลปะรวบอาสาสมัครทุกอาชีพมาช่วยเหลือคนไร้บ้านและซาเล้ง ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
รัซเซียแก้ปัญหาถนนเป็นหลุมบ่อด้วยการ Paint หน้าผู้รับผิดชอบ กลายเป็น Viral จนเกิดการแก้ปัญหาทันทีวันรุ่งขึ้น
และยังมีอีกตัวอย่างมากมายรวมถึงในประเทศไทยที่กำลังใช้โมเดลนี้ในการร่วมสร้างสรรค์สังคม
ทั้ง 45 ข้อนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการบรรยาย 2 ชั่วโมง ในวิชา Performing education & Social development มันคือโมเดลที่ผู้เขียนใช้ในการทำงานอยู่จริง ๆ ยังมีอีกหลายวิธีการ และหลายมุมมองที่ยังไม่ได้กล่าวถึง หากมีโอกาสผู้เขียนจะนำมาเขียนเพิ่มเติมในตอนถัดไป ขอบคุณคณะศิลปกรรม มศว ที่ให้โอกาสผู้เขียนได้ไปบรรยายในหัวข้อนี้ และนำส่วนหนึ่งมาเขียนเป็นบทความในครั้งนี้