ทำความรู้จักกับประกันสังคมสำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ และ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

ผลสำรวจของมูลนิธิละครไทยที่สำรวจผลกระทบ COVID-19 ที่มีต่อศิลปินละครเวทีไทยร่วมสมัยแสดงให้เห็นว่าศิลปินไทยหลายๆ ท่านมีประกันชีวิตอยู่แล้ว แต่ประกันชีวิตอาจไม่สามารถช่วยเหลือได้เท่าไรในขณะนี้ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่มีสวัสดิการของรัฐ ซึ่งก็คือประกันสังคมและหลักประกันสุขภาพ หรือที่เราเรียกกันว่า “บัตรทอง”

มูลนิธิละครไทยจึงอยากนำข้อมูลที่มีประโยชน์เกี่ยวกับ ประกันสังคม กับ หลักประกันสุขภาพ มาฝากทุกท่านที่สนใจและอยากทราบความแตกต่างของสวัสดิการของรัฐทั้ง 2 แบบนี้ รวมถึงศิลปินบางท่านที่ยังสงสัยว่าตนเองสามารถรับสวัสดิการเหล่านี้ได้หรือไม่

 

 
 
nhso(25).jpg
 

หลักประกันสุขภาพ

สิทธิหลักประกันสุขภาพ 30 บาทคุ้มครองบุคคลที่เป็นคนไทยมีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักที่ไม่ได้รับสิทธิสวัสดิการข้าราชการ สิทธิประกันสังคม สิทธิรัฐวิสาหกิจ หรือสิทธิอื่นๆ ให้ได้รับบริการสาธารณสุข ทั้งการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัย การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตตามพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545

 

สถานที่รับลงทะเบียน

  • ต่างจังหวัด : สถานีอนามัย โรงพยาบาลของรัฐใกล้บ้าน หรือสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัด ในวันเวลาราชการ

  • กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเขตของกรุงเทพมหานคร หรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 13 กทม. ในวันเวลาราชการ

 

เอกสารลงทะเบียน

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำหรับเด็กใช้สำเนาสูติบัตร (ใบเกิด)

  2. สำเนาทะเบียนบ้าน หรือหนังสือรับรองการพักอาศัยจริง

 
 
nhso(25).jpg
 

ประกันสังคม

ประกันสังคมที่เราคุ้นเคยมี 3 แบบ คือ มาตรา 33, 39 และ 40

  1. มาตรา 33 คือ สำหรับพนักงาน ลูกจ้างบริษัทเอกชนที่มีนายจ้างในสถานประกอบการ ซึ่งทั้งนายจ้างและลูกจ้างจะส่งเงินสมทบเดือนละ 5% ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 750 บาท

  2. มาตรา 39 คือ พนักงานหรือลูกจ้างเอกชนที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และจ่ายเงินสมทบมาไม่ต่ำกว่า 12 เดือน แต่ลาออกจากงานแล้ว และลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ภายใน 6 เดือนหลังลาออก 

  3. มาตรา 40 คือ ประกันสังคมสำหรับพ่อค้า แม่ค้า และผู้ประกอบอาชีพอิสระ

 

คุณสมบัติผู้สมัครมาตรา 40

  • ประกอบอาชีพอิสระหรือแรงงานนอกระบบ

  • อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ (มติครม.ล่าสุดเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2562)

  • ไม่เป็นลูกจ้างในบริษัทเอกชนตามประกันสังคมมาตรา 33 และไม่เคยสมัครเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 (บุคคลที่เคยทำงานอยู่ในบริษัทเอกชนในมาตรา 33 มาก่อนแล้วลาออกแต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมไว้)

  • ไม่เป็นข้าราชการหรือบุคคลที่ถูกยกเว้นตามกฎหมายประกันสังคม

  • บุคคลพิการที่สามารถรับสิทธิประกันสังคม

 

ทางเลือกในการจ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 40

Capture.PNG
 
bp.jpg
 

ความแตกต่าง

ท่านสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างกันระหว่างประกันสังคมและหลักประกันสุขภาพได้ตามตารางของธนาคารไทยพาณิชย์ด้านล่างนี้

pasted image 0.png
 
 

ร่วมเขียนโดย ณัฐพัชร อาษากิจ